ทนายกรุงเทพ.com02 114 7521

เปิดหน้าต่อไป

กฎหมายใหม่

กฎหมายใหม่

  • กฎหมายเกี่ยวกับมรดก
  • กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว
  • กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของประชาชน
  • กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
  • กฎหมายเกี่ยวกับจราจร
  • กฎหมายเกี่ยวกับอาหารและยา
  • กฎหมายเกี่ยวกับชื้อขาย
  • กฎหมายเกี่ยวกับกู้ยืม
  • กฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน
  • กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน
  • กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
  • กฎหมายเกี่ยวกับฉ้อโกง
  • กฎหมายเกี่ยวกับลักทรัพย์
  • กฎหมายเกี่ยวกับหมิ่นประมาท
  • กฎหมายเกี่ยวกับปลอมแปลงเอกสาร
  • กฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
  • กฎหมายเกี่ยวกับหนี้
  • กฎหมายเกี่ยวกับซื้อขายออนไลน์
  • กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
  • กฎหมายเกี่ยวกับศาล
  • กฎหมายเกี่ยวกับประกันตัว
  • กฎหมายเกี่ยวกับทะเลาะวิวาท

คำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ (1)

  1. คดีอาญา
  2. คดีแพ่ง
  3. คดีทรัพย์สินทางปัญญา
  4. คดีแรงงาน
  5. คดีครอบครัว
  6. คดีละเมิด
  7. คดีประกันภัย-ชีวิต
  8. คดีจราจร
  9. คดีค้ำประกัน
  10. คดีแชร์
  11. คดีเพิกถอนนิติกรรม
  12. คดีฟ้องแพทย์
  13. คดีที่ดิน
  14. คดีมรดก
  15. คดีหุ้นส่วน บริษัท


    มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445  หาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้   

    ทนายภูวงษ์.com  

1. คดีอาญา

เรื่องตรวจค้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่บนถนนสุทธาวาสไม่ใช่หลังซอยโรงถ่านตามที่สิบตำรวจโท ก. และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่ามีอาชญากรรมเกิดขึ้นประจำแต่อย่างใด และจำเลยไม่มีท่าทางเป็นพิรุธคงเพียงแต่นั่งโทรศัพท์อยู่เท่านั้น การที่สิบตำรวจโท ก. และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่าเกิดความสงสัยในตัวจำเลยจึงขอตรวจค้น โดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดความสงสัยในตัวจำเลย จึงเป็นข้อสงสัยที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกเพียงอย่างเดียวถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันควรสงสัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 ที่จะทำการตรวจค้นได้ การตรวจค้นตัวจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งถูกกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีสิทธิโต้แย้งและตอบโต้เพื่อป้องกันสิทธิของตน ตลอดจนเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งใด ๆ อันสืบเนื่องจากการปฏิบัติที่ไม่ชอบดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง


เรื่อง ยกประโยชน์แห่งความสงสัย

ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้กับจำเลย จากคำเบิกความของผู้เสียหาย แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนไป กล้องวงจรปิดสามารถชี้ตัวคนร้ายได้ครับ แต่อดีตต้องใช้คำเบิกความพยาน ตามฎีกานี้ครับ

เหตุเกิดในเวลากลางคืน ผู้เสียหายอ้างว่าเห็นและจำหน้าคนร้ายได้ในขณะที่คนร้ายขับรถจักรยานยนต์แซงรถจักรยานยนต์คันที่ผู้เสียหายนั่งซ้อนท้าย ป. มา โดยอาศัยแสงไฟรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายและแสงไฟรถจักรยานยนต์ที่แล่นสวนมากับแสงจันทร์แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วแสงไฟรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายย่อมพุ่งไปข้างหน้าจึงไม่สว่างพอที่จะทำให้ผู้เสียหายเห็นหน้าคนร้ายที่ขับและนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่แซงรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายได้ส่วนแสงจันทร์ก็มีความสว่างน้อยไม่พอจะเห็นหน้าคนร้ายได้   ผู้เสียหายชี้ตัวจำเลยว่าเป็นคนร้ายที่ขับรถจักรยานยนต์แต่กลับเบิกความตอบคำถามค้านว่าตอนที่ชี้ตัวนั้นเพิ่งรู้ว่าจำเลยเป็นคนที่ตนรู้จักมาก่อน ดังนี้หากผู้เสียหายจำคนร้ายได้จริงก็น่าจะบอกชื่อคนร้ายได้ในวันเกิดเหตุ คำเบิกความของผู้เสียหายจึงมีพิรุธไม่น่าเชื่อ   ช่วงเวลาที่คนร้ายที่นั่งซ้อนรถจักรยานยนต์ลงจากรถมาถีบรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายทันทีจน ป. พยานและรถตกลงไปในคูน้ำข้างทาง ทำให้โอกาสที่ ป. จะเห็นและจำหน้าคนร้ายที่ขับรถจักรยานยนต์มีน้อย เมื่อพยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 


เรื่อง ฉ้อโกงประชาชน

การที่จำเลยกับพวกชักชวนผู้เสียหายทั้งสิบคนและบุคคลอื่นให้นำเงินมาลงทุนกับบริษัท เพื่อประกอบกิจการสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าเพื่อเก็งกำไรทั้ง ๆ ที่จำเลยรู้อยู่ว่าบริษัท อ. ไม่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการดังกล่าวและการประกอบกิจการตามที่อ้างจะมีขึ้นไม่ได้แน่นอน การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบคนและบุคคลทั่ว ๆ ไปไม่จำกัดว่าเป็นใครอันเป็นการหลอกลวงประชาชนด้วยการการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยเจตนาทุจริต ทำให้ผู้เสียหายทั้งสิบคน หลงเชื่อมอบเงินให้แก่จำเลยกับพวกไปจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรกและการกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวเป็นการกู้ยืมเงินตามพระราชกฤษฎีกา การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 3 และเป็นการชักชวนว่าในการกู้ยืมเงินจำเลยหรือบริษัทอ. จะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่พึงจ่ายได้ โดยจำเลยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าจำเลยหรือบริษัท อ. จะนำเงินจากผู้เสียหายทั้งสิบคน หรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้เสียหายทั้งสิบคน หรือโดยที่จำเลยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าจำเลยหรือบริษัท อ. ไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายดอกเบี้ยตามสัญญาได้และเป็นเหตุให้จำเลยกับพวกหรือบริษัท อ.ได้กู้ยืมเงินไป จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 4,12 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวอีกบทหนึ่ง


เรื่อง ศาลใช้หลักอะไรในการพิจารณาคดี

ความฐานทำร้ายร่างกาย พยายามฆ่าหรือฆ่าผู้ตายโดยเจตนา ศาลมีมาตราฐานในการให้คำวินิจฉัย ผู้กระทำผิดควรรับโทษสถานใด 

จำเลยใช้ของแข็งตีทำร้ายผู้ตายมีบาดแผลฟกช้ำดำเขียวทั่วร่างกายกับมีบาดแผลฉีกขาดที่ศีรษะยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ลึกประมาณ1.5 เซนติเมตร มีบาดแผลฉีกขาดที่หัวคิ้วซ้ายยาวประมาณ 3 เซนติเมตรลึกประมาณ 1 เซนติเมตร มีบาดแผลถลอกที่ขากรรไกรและข้อศอกซ้ายกระดูกขากรรไกรหัก กระดูกซี่โครงร้าว 2 ซี่ ฟังได้ว่าจำเลยทำร้ายผู้ตายโดยมีเจตนาฆ่า   หลังจากที่ผู้ตายถูกทำร้ายแล้ว ได้มีการนำตัวผู้ตายไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลแพทย์ได้รักษาผู้ตายเบื้องแรกโดยให้น้ำเกลือใส่ท่อช่วยหายใจ ผ่าตัดใส่ท่อระบายลมในโพรงปอดข้างซ้ายเพราะมีลมรั่วออกมาจากทางเดินหายใจ แล้วใส่เครื่องช่วยหายใจให้ผู้ตายด้วย และแพทย์ผู้รักษามีความเห็นว่า หากให้ผู้ตายรักษาตัวที่โรงพยาบาลต่อไปแล้ว โอกาสที่ผู้ตายจะมีชีวิตรอดมีมากกว่าผู้ตายจะถึงแก่ความตาย การที่ญาติผู้ตายกระทำให้การรักษาสิ้นสุดลงโดยการดึงเครื่องช่วยหายใจ และท่อช่วยหายใจออก แล้วพาผู้ตายกลับบ้าน และผู้ตายถึงแก่ความตายในคืนนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย หาใช่เป็นผลจากการกระทำของจำเลยโดยตรงไม่ เพราะเมื่อผู้ตายอยู่ในความดูแลรักษาของแพทย์แล้ว ผู้ตายย่อมเป็นผู้อยู่ในสภาพที่มีโอกาสมีชีวิตอยู่รอดสูงการกระทำของจำเลยจึงมีความผิดเพียงฐานพยายามฆ่าผู้ตาย


เรื่อง หมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นซึ่งหน้า

จำเลยด่าว่าผู้เสียหายว่า "อีเหี้ย อีสัตว์ อีควาย มึงคิดว่าเมียกูกินเงินไปหรือไง" และชี้มือไปที่ผู้เสียหาย ถ้อยคำดังกล่าวนอกจากจะเป็นคำหยาบคายแล้ว ยังมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบผู้เสียหายเป็นสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สี่เท้า และกล่าวหาผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายว่าภริยาจำเลยของจำเลยเอาเงินของกลุ่มแม่บ้านไปใช้เป็นการส่วนตัว ถ้อยคำดังกล่าวมีลักษณะเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย


เรื่อง หุ้นส่วน รู้เหตุแห่งการกระทำผิด

ในองค์ประกอบของห้างหุ้นส่วนและบริษัทนั้น เจ้าของกิจการห้างหุ้นหรือบริษัทนั้นคือ ผู้ถือหุ้นครับ เมื่อได้ความว่ามีผู้ถือหุ้นคนอื่นรู้และรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว ไม่ดำเนินคดี ให้นับอายุความนับแต่ผู้ถือหุ้นรู้และรู้ตัวผู้กระทำความผิด ผู้ถือหุ้นคนอื่นรู้ที่หลังจะถือเอาระยะเวลาที่ตนรู้ไม่ได้ ดังฎีกานี้ครับ

โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ล. ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ของบริษัท โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยไว้ก่อน ดังนี้ เมื่อได้ความว่าก่อนที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต. ผู้ถือหุ้นอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์เช่นเดียวกับโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยภายใน3 เดือนนับแต่วันที่ ด. รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96


เรื่อง การบรรยายฟ้อง

   โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเบิกความเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดีแพ่ง โดยบรรยายรายละเอียดข้อความที่จำเลยเบิกความกับความจริงเป็นอย่างไร และว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดี แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าคดีที่จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จนั้นมีข้อหาหรือประเด็นพิพาทเป็นอย่างไร และประเด็นที่สำคัญของคดีมีว่าอย่างไรดังนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

ปรึกษาหรือหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้ ทนายภูวงษ์.com

*****************************************

2. คดีแพ่ง

3. คดีทรัพย์สินทางปัญญา

เรื่อง ลิขสิทธิ์ โดราเอม่อน

ทนายเตือนภัย: ทรัพย์สินทางปัญญา สร้างปัญหาทั้งคนจนและคนรวยครับ แต่ถึงอย่างไรก็ต้องให้ประโยชน์กับผู้สร้างสรรค์ผลงาน มาให้ประชาชนได้ประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์นั้น แต่ก็ต้องมีอายุความในการให้ประโยชน์กับผู้สร้างสรรค์ผลงาน ตามฎีกานี้ครับ

โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานที่นำภาพการ์ตูนโดราเอมอนมาดัดแปลงเป็นงานศิลปะ ใช้ประยุกต์กับวัสดุสิ่งของ เครื่องใช้ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและนำมาใช้ในทางการค้าลักษณะงานตามฟ้องจึงเข้าลักษณะเป็นงานศิลปประยุกต์ กล่าวคือ เป็นงานที่นำเอางานภาพการ์ตูนไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าว โดยนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าตามนิยามคำว่า "งานศิลปประยุกต์" ในมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งมาตรา 22 บัญญัติไว้ว่าลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก งานของผู้เสียหายมีการโฆษณางานเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2512 งานดังกล่าวจึงมีอายุการคุ้มครองอยู่ถึงเพียงวันที่ 1 ธันวาคม 2537 ขณะเกิดเหตุในคดีนี้ งานที่นำภาพตัวการ์ตูนโดราเอมอนมาดัดแปลงเป็นงานศิลปะ ใช้ประยุกต์กับวัสดุสิ่งของ เครื่องใช้ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและนำมาใช้ประโยชน์ทางการค้าตามฟ้องจึงไม่มีลิขสิทธิ์อีกต่อไป


เรื่อง เครื่องหมายการค้า

ทนายเตือนภัย: เมื่อคุณต้องการให้กฎหมายคุ้มครอง คุณก็ต้องทำตามที่กฎหมายกำหนดครับ เช่นเดียวกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เรื่องนี้ครับ

เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ ไม่มีรูปร่าง ทั้งไม่อาจยึดถือครอบครองได้อย่างทรัพย์สินทั่วไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สินการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า PEAK และ PEAK กับรูปประดิษฐ์คล้ายภูเขาของผู้อื่นมาใช้กับสินค้าของตนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของแม้เป็นระยะเวลานานเพียงใด ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์ได้ บทบัญญัติว่าด้วยการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หาอาจนำมาใช้บังคับแก่สิทธิในเครื่องหมายการค้าอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาได้ไม่

 โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโดยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยในลักษณะลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์เพียงแต่คาดคะเนว่าหากจำเลยกระทำการดังนั้น ผลเสียหายจะตกแก่โจทก์อย่างไร จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้นำสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยได้นำเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต เป็นการละเมิดต่อโจทก์ จึงเป็นพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในฟ้อง

 โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน คำว่า PEAK และ PEAKกับรูปประดิษฐ์คล้ายภูเขา แต่โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้เฉพาะในกรณีที่จำเลยได้นำสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์เพียงกรณีเดียวเท่านั้น

เรื่อง ลิขสิทธ์เพลง

ทนายเตือนภัย: เป็นทนายความเกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ต้องศึกษากฎหมายให้ดีว่าจะฟ้องความผิดฐานใด ถ้าฟ้องผิดฐานความผิด แม้จำเลยจะให้การับสารภาพ ศาลก็พิพากษายกฟ้องได้ ดูฎีกานี้ครับ

การละเมิดลิขสิทธิ์โดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานดนตรีกรรมหรือโสตทัศนวัสดุหรือสิ่งบันทึกเสียงตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 และมาตรา 28 ต้องเป็นการกระทำโดยตรงแก่งานที่มีลิขสิทธิ์โดยชอบเท่านั้น ไม่รวมถึงการกระทำโดยใช้งานที่มีการทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์มาก่อน โดยกรณีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่มีการทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์นั้น กฎหมายบัญญัติแยกลักษณะการกระทำที่จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้ต่างหากในมาตรา 31 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์กับการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมาแล้วจึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่แตกต่างกัน

ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยนำเอาแผ่นซีดีเพลงซึ่งมีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายมาเปิดเผยแพร่เสียงต่อสาธารณชนภายในร้านข้าวต้มของจำเลย โดยจำเลยรู้ว่าแผ่นดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย การกระทำดังกล่าวมิใช่การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา27 และมาตรา 28 แต่กลับเป็นข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำแก่งานที่บุคคลอื่นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายมาก่อนแล้ว การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องจึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรงตามมาตรา 27 (2) และมาตรา28 (2) ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 69 ไม่ว่าจะเป็นวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษได้

มีปัญหาปรึกษา ทนายใกล้คุณ 

คอลเซ็นเตอร์ (เวลาราชการ) 089-226-8899 

คอลเซ็นเตอร์ 24 ชั่วโมง 02-114-7521 

ไลน์กับทนาย 24 ชั่วโมง @lawyernearyou 

แชทกับทนาย 24 ชั่วโมง https://direct.lc.chat/8941034 

(กรอกข้อมูล มือถือ อีเมล เพื่อให้เราติดต่อกลับด้วย)

***************************************

4. คดีแรงงาน

5. คดีครอบครัว

5. คดีละเมิด

ละเมิด เสียชีวิตในสระว่ายน้ำโรงแรม

สถานที่ที่โรงแรม ข. ตั้งอยู่ ไม่มีระเบียบข้อบังคับหรือข้อบัญญัติที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายปกครอง อำเภอปากช่อง เกี่ยวกับการก่อสร้างและใช้สระว่ายน้ำเอกชน โจทก์ จ. ผู้ตาย และ ม. กับครอบครัวของ น. เข้าพักที่โรงแรมข. ผู้ตาย ม. และ ด.ญ.ด. ว่ายน้ำอยู่ในสระว่ายน้ำของโรงแรม โดยมี จ. นั่งอยู่ริมสระว่ายน้ำ ขณะที่ผู้ตายว่ายน้ำอยู่กลางสระ ผู้ตายจมน้ำ ม. ว่ายไปช่วยแต่ช่วยไม่ได้จึงเรียก จ. ลงไปช่วย จ. ลงในสระช่วยผู้ตาย แต่ช่วยไม่ได้จึงให้ ม. ไปตามโจทก์ โจทก์จึงกระโดดลงไปดำน้ำช่วยจนกระทั่งสามารถดึงผู้ตายขึ้นมาที่ขอบสระได้และช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น แล้วนำผู้ตายส่งโรงพยาบาลปากช่องนานา แพทย์ตรวจร่างกายผู้ตายพบว่าผู้ตายไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หัวใจไม่เต้น วัดความดันไม่ได้ ม่านตาไม่ตอบสนอง แสดงว่าผู้ตายเสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล ต่อมาโจทก์และ จ. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยทั้งสองแต่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง คดีถึงที่สุด

ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิยื่นฟ้องแทน จ. เหตุแห่งการฟ้องในครั้งนี้เกิดจากโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องสินสมรสเพราะไม่เกี่ยวกับรายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากการทำมาหาได้ร่วมกัน จึงเป็นสิทธิของแต่ละคนที่จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้กระทำละเมิดตามสิทธิที่มีอยู่เป็นการเฉพาะตัวตามที่บทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้

การที่จำเลยทั้งสองจัดให้มีสระว่ายน้ำไว้ในโรงแรมก็เพื่อเป็นทางเลือกที่จะให้ลูกค้าเข้าใช้บริการโรงแรมของจำเลยทั้งสองเพิ่มขึ้นมิฉะนั้นจำเลยทั้งสองคงไม่สร้างสระว่ายน้ำในปี 2540 ซึ่งต้องใช้เงินถึง 560,000 บาท ทั้งสระว่ายน้ำของจำเลยทั้งสองมีความลึกสูงสุด 2.55 เมตร และบริเวณที่ลึกที่สุดมีลักษณะเป็นกรวยลงไปด้วย ลักษณะดังกล่าวของสระว่ายน้ำ ทำให้ยากต่อการช่วยเหลือผู้ที่จมน้ำ ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จำเลยทั้งสองจะต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพื่อดูแลความปลอดภัยและช่วยเหลือผู้ใช้บริการเมื่อเกิดอุบัติเหตุตลอดเวลาที่เปิดบริการชุดปฐมพยาบาลประจำสระว่ายน้ำ อุปกรณ์ช่วยชีวิต เช่น ไม้ช่วยชีวิต ห่วงชูชีพ โฟมช่วยชีวิต เครื่องช่วยหายใจ ทั้งจะต้องมีป้ายบอกแสดงความลึกของสระว่ายน้ำให้ผู้ใช้บริการทราบ ซึ่งจำเลยทั้งสองได้คิดค่าบริการส่วนนี้รวมกับค่าเช่าที่พักแล้วไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม หากจำเลยทั้งสองจัดหาบุคลากรและอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าว เมื่อผู้ตายจมน้ำก็สามารถช่วยเหลือผู้ตายให้รอดชีวิตได้ แต่เนื่องจากจำเลยทั้งสองขาดบุคลากรและอุปกรณ์จึงเป็นเหตุให้โจทก์ภริยาโจทก์และบุตรโจทก์ไม่สามารถช่วยผู้ตายขึ้นจากสระว่ายน้ำ ซึ่งได้ความจากโจทก์และภริยาโจทก์ว่า พื้นสระว่ายน้ำของจำเลยทั้งสองลื่นเนื่องจากขาดการดูแลรักษา สระว่ายน้ำของจำเลยทั้งสองเปิดให้บุคคลที่มาใช้บริการโรงแรมของจำเลยทั้งสองเข้าใช้ได้ โดยส่วนที่ลึกที่สุดลึกถึง 2.55 เมตร ซึ่งท่วมศีรษะของบุคคลทั่วไป หากมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่ว่ายน้ำไม่เป็นหรืออาจจะเป็นเด็กเล็ก หรือผู้สูงวัยพลัดตกลงไปอาจจมน้ำเสียชีวิตได้ ควรอย่างยิ่งที่จำเลยทั้งสองจะจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในการช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำมาคอยดูแลหรือมีเชือกกั้นแสดงเขตส่วนที่ลึกท่วมศีรษะเพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่ใช้สระว่ายน้ำจมน้ำได้ ซึ่งจำเลยทั้งสองสามารถกระทำได้แต่หาได้กระทำไม่ แม้ว่าสระว่ายน้ำในโรงแรมของจำเลยทั้งสองจะตั้งอยู่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา แต่หาทำให้ความสำคัญของสระว่ายน้ำแตกต่างไปจากสระว่ายน้ำในกรุงเทพมหานครไม่ แม้ อ.บ.ต. หมูสีและอำเภอปากช่องจะไม่มีข้อบังคับหรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับการก่อสร้างสระว่ายน้ำ ก็หาทำให้จำเลยทั้งสองพ้นความรับผิดในกรณีที่มีผู้ประสบภัยจมน้ำตายดังเช่นผู้ตายในคดีนี้ไม่ ทั้งนี้เพราะการที่จำเลยทั้งสองมีสระว่ายน้ำซึ่งลึกและมีสภาพเป็นกรวยย่อมเป็นที่เล็งเห็นได้ว่าหากบุคคลที่ว่ายน้ำไม่เป็นหรือเกิดเป็นตะคริวจมน้ำลงไปย่อมถึงแก่ความตาย หรือเด็กอาจพลัดตกลงไปถึงแก่ความตายได้ ทั้งเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะต้องป้องกันเองโดยไม่จำเป็นต้องมีข้อบังคับหรือระเบียบใดๆ ของทางราชการออกมาบังคับอีกชั้นหนึ่ง

จำเลยต้องรับผิดในมูลละเมิดต่อโจทก์


มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445  ปรึกษาหรือหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้  www.ทนายภูวงษ์.com 

ละเมิด ฟ้องแพทย์และโรงพยาบาล  

จำเลยเป็นผู้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล บุตรของโจทก์ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่นั่งซ้อนท้ายชนแผงเหล็กกั้นทางโค้งปากทางเข้าหมู่บ้านเมืองเอก และผู้ขับขี่ถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ บุตรของโจทก์มีอาการเจ็บปวด มีภาวะการบอบช้ำของสมองและโลหิตออกในสมอง จะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แม้ไม่ปรากฏบาดแผลร้ายแรงที่มองเห็นจากภายนอก แต่พยาบาลเวรซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยกลับให้ผู้ช่วยพยาบาลตรวจค้นหลักฐานในตัวบุตรของโจทก์ว่ามีบัตรประกันสังคม บัตรประกันสุขภาพ 30 บาท หรือบัตรประกันชีวิตหรือไม่เมื่อไม่พบหลักฐานใด จึงสอบถามเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิที่เป็นผู้นำส่งว่าใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เมื่อไม่มีคำตอบ จึงปฏิเสธที่จะรับบุตรของโจทก์ไว้รักษา โดยแนะนำให้ไปรักษายังโรงพยาบาลของรัฐ การที่พยาบาลเวรลูกจ้างของจำเลยปฏิเสธไม่รับบุตรของโจทก์เข้ารับการรักษาดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผลโดยตรงที่ทำให้บุตรของโจทก์ถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล มีหน้าที่ต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 36 แต่กลับไม่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของลูกจ้างดังกล่าว จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้ศาล 099 464 4445  ค้นหาทนายสู้คดีที่เวปไซต์นี้   www.ทนายภูวงษ์.com

ละเมิด ฟ้องแพทย์และโรงพยาบาล

ฎีกาที่ 6092/2552

จำเลยที่ 3 มิได้ตรวจดูอาการของโจทก์ตั้งแต่แรกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพนมสารคามด้วยตนเอง แต่วินิจฉัยโรคและสั่งการรักษาอาการของโจทก์ตามที่ได้รับรายงานทางโทรศัพท์จากพยาบาลแทนโดยไม่ได้ตรวจสอบประวัติการรักษาของโจทก์ด้วยตนเอง แม้จำเลยที่ 3 จะสอบถามจากพยาบาลก่อนที่พยาบาลจะฉีดยาให้แก่โจทก์เพื่อทำการรักษาก็ตาม ก็มิใช่วิสัยของบุคคลผู้มีวิชาชีพเป็นแพทย์จะพึงกระทำไม่ ทั้งห้องแพทย์เวรกับห้องฉุกเฉินที่โจทก์อยู่ห่างกันเพียง 20 เมตร ไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอันทำให้จำเลยที่ 3 ไม่สามารถมาตรวจวินิจฉัยอาการของโจทก์ได้ด้วยตนเองแต่อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อ เมื่อพยาบาลฉีดยาบริคานิลให้แก่โจทก์ตามที่จำเลยที่3 สั่งการ หลังจากนั้นโจทก์มีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีอาการเช่นว่านั้นมาก่อน อาการแพ้ยาดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

ความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 3 ทำการรักษา หากการรักษานั้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรแห่งวิชาชีพแพทย์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายโจทก์ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 อันเป็นการกระทำละเมิด จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 อันเป็นหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ได้

ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย ค่าเสียสมรรถภาพในการมองเห็นและค่าสูญเสียความสวยงาม ถือเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน ซึ่งโจทก์จึงมีสิทธิเรียกได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ประกอบอาชีพด้วยหรือไม่

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้ศาล 099 464 4445  ค้นหาทนายสู้คดีที่เวปไซต์นี้   www.ทนายภูวงษ์.com

***************************************

คดียาเสพติด

คดีเช่าซื้อและค้ำประกัน

คดีกู้ยืมเงิน

คดีซื้อขาย

คดีแชร์

คดีฉ้อโกง

คดียักยอก

คดีที่ดิน

ใบจอง ถือเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแล้ว

ลำดับที่ 220 ฎีกาที่ 2569/2556

การที่โจทก์จองซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์จากจำเลย 2 แปลง คือแปลงหมายเลข 1314 และ 1315 โดยวางเงินจองไว้แปลงละ 100,000 บาท ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้มัดจำและเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญากันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา377 แม้ตามใบจองซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จะมีข้อความว่าให้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน และโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำก็ตาม แต่ใบจองดังกล่าวระบุราคาขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ไว้ และระบุว่าวางเงินจองจำนวน 100,000 บาท กับระบุค่าโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยเป็นผู้ชำระ ซึ่งแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์กันต่อไป กรณีจึงมีสาระสำคัญครบถ้วนเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ระหว่างโจทก์กับจำเลย ดังนั้น ใบจองซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ทั้งสองแปลงจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย

ข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อหนี้ที่ต่างต้องชำระมิได้กำหนดเวลาไว้แน่นอน ต่างฝ่ายย่อมเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ได้โดยพลัน โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควร บอกกล่าวให้อีกฝ่ายชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ประกอบมาตรา 369 การที่จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1314 โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ชำระหนี้ แต่โจทก์เพิกเฉย จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยมีสิทธิรับเงินมัดจำ จำนวน100,000 บาท ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) ส่วนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแปลงหมายเลข 1315 จำเลยบอกเลิกสัญญาโดยมิได้บอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนจึงไม่ชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างบอกเลิกสัญญาต่อกัน แม้ไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญาตามพฤติการณ์ แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1315 จึงไม่มีผลผูกพันกันต่อไป กรณีไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิรับเงินมัดจำจำนวน 100,000 บาท

สำหรับเงินค่าทำสัญญาที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์สองแปลงเป็นเงินแปลงละ 100,000 บาท รวมเป็นเงิน 200,000 บาท นั้น ไม่ใช่มัดจำ แต่เป็นการชำระราคาค่าที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์บางส่วน เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันแล้ว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ส่วนเงินที่จะต้องใช้คืนแก่กันให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดแต่เวลาที่ได้รับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1315 และราคาที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ทั้งสองแปลงบางส่วนดังกล่าวที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไว้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 2 เมษายน 2545 อันเป็นวันที่รับไว้เป็นต้นไป


มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445  ปรึกค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้  www.ทนายภูวงษ์.com  

……………………………………………………..


หัวข้อคำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ

1.     เรื่อง เลิกจ้าง

2.     เรื่อง ผิดสัญญา

3.     เรื่อง ครอบครัว

4.     เรื่อง บรรลุนิติภาวะ

5.     เรื่อง การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

6.     เรื่อง ละเมิด

7.     เรื่อง ประกันชีวิต

8.     เรื่อง หมิ่นประมาท

9.     เรื่อง รถหายในห้างสรรพสินค้าใครรับผิดชอบ

10.  เรื่อง จอดรถ ขับรถเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย  

11.  เรื่อง แชร์ อายุความ

12.  เรื่อง เพิกถอนนิติกรรม ขายฝาก

13.  เรื่อง ค้ำประกัน  

14.  เรื่อง ฟ้องแพทย์และโรงพยาบาล

15.  เรื่อง เพิกถอนนิติกรรมการขายฝาก

16.  เรื่อง ค้ำประกันตกทอดถึงลูกหลาน  

17.  เรื่อง ฟ้องแพทย์และโรงพยาบาล  

18.  เรื่อง การเช่าอสังหาริมทรัพย์  

19.  เรื่อง ทางภาระจำยอม ภาระจำยอม 

20.  เรื่อง อะไรคือทรัพย์ อะไรคือมรดก

21.   เรื่อง หุ้นส่วน บริษัท  


*********************************************    

คำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ (1)

1.         เรื่อง เลิกจ้าง  

ทนายเตือนภัย: การจ้างงานไม่จำเป็นต้องมีสัญญาจ้างนะครับ พูดกันด้วยปากเปล่าให้มาทำงานวันนี้ และสิ้นสุดวันนี้ถือเป็นการจ้างงานที่มีกำหนดการเลิกจ้างที่แน่นอน ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชย แต่ก็ต้องดูลักษณะของงานด้วยนะครับ ศึกษาฎีกานี้ครับ

โจทก์และจำเลยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน โดยกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดไว้เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้างนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า งานที่โจทก์ทำมีลักษณะเป็นงานถาวรมิใช่เป็นงานครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการการเลิกจ้างไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้าง จำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไป ก็ต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 จำเลยต้องชดใช้ค่าชดเชยแก่โจทก์   ปัญหาว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาที่มีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการหรือไม่นั้น จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องเป็นฝ่ายยกขึ้นต่อสู้คดีไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องบรรยายมาในคำฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้ยกเรื่องดังกล่าวขึ้นต่อสู้คดี จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาทนายสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

 

2.         เรื่อง ผิดสัญญา

เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หากคู่ความฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาดังกล่าว ปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วแต่ยังขายไม่ได้ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมจำเลยจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์ได้ ก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้การที่ยังขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่ได้มิใช่กรณีขายแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์ การที่จำเลยหักบัญชีเงินฝากของ จทก์ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงเป็นการปฏิบัติ นอกเหนือและผิดไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยไม่อาจทำได้ และจำเลยจะอ้างว่าเป็นการหักกลบลบหนี้ ก็มิได้เพราะโจทก์และจำเลยมีข้อสัญญาที่จะต้องปฏิบัติ ต่อกันอยู่  

ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาทนายสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

 

3.         เรื่อง บรรลุนิติภาวะ

ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรสย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ

ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว

ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก

สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวพัน ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น

การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง ย่อมขาดอายุความมรดก

ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาทนายสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

 

4.         เรื่อง: การแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมกัน

ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน โดยเป็นทรัพย์มรดกของ ช. กึ่งหนึ่ง และเป็นทรัพย์มรดกของฉ. กึ่งหนึ่ง

 การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.

 ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น

ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาทนายสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

 

5.         เรื่อง ละเมิด

แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นสื่อมวลชน มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาหรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ๆ แต่ก็หาอาจกระทำการใด ๆ ที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น การที่จำเลยทั้งสองนำข่าวการมีเพศสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งซึ่งหนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ เคยนำเสนอภาพและข่าวไปก่อนหน้านั้น แต่ยังไม่ได้ระบุว่าชายหญิงในภาพเป็นใครมาเผยแพร่ซ้ำโดยระบุในเนื้อข่าวว่า ชายในภาพที่กำลังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักคือโจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายต้องแจ้งชื่อ ลักษณะแห่งความผิดและพฤติการณ์ต่าง ๆ ต่อพนักงานสอบสวนเป็นหน้าที่ที่ผู้เสียหายต้องกระทำในการร้องทุกข์กล่าวโทษ จะถือว่าโจทก์ยินยอมเปิดเผยชื่อและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อสาธารณชนหาได้ไม่ แม้โจทก์จะเป็นนักการเมือง เป็นบุคคลสาธารณะ แต่ก็ย่อมมีสิทธิของความเป็นส่วนตัว มิใช่ว่าเมื่อเป็นนักการเมืองหรือบุคคลสาธารณะแล้วจะทำให้สิทธิในความเป็นส่วนตัวต้องสูญสิ้นไปทั้งหมด การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 แต่มิใช่เป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม มาตรา 423 โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณและความเสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของตนโดยประการอื่นตามมาตรา 423 ได้ โดยจำเลยทั้งสองต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น และแม้จะมีบุคคลอื่นกระทำละเมิดด้วยก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้กระทำละเมิดรายนั้น ๆ มิใช่เหตุตามกฎหมายที่จำเลยทั้งสองจะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลปรับลดค่าเสียหายที่ตนต้องรับผิดลง แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 34 จะบัญญัติคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว และมาตรา 28 บัญญัติให้ผู้ถูกกระทำละเมิดสามารถยกขึ้นเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีบทบัญญัติในทำนองเดียวกันนี้ก็ตาม แต่การที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ

ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

 

6.         เรื่อง ละเมิด

แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นสื่อมวลชน มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาหรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ๆ แต่ก็หาอาจกระทำการใด ๆ ที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น การที่จำเลยทั้งสองนำข่าวการมีเพศสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งซึ่งหนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ เคยนำเสนอภาพและข่าวไปก่อนหน้านั้น แต่ยังไม่ได้ระบุว่าชายหญิงในภาพเป็นใครมาเผยแพร่ซ้ำโดยระบุในเนื้อข่าวว่า ชายในภาพที่กำลังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักคือโจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายต้องแจ้งชื่อ ลักษณะแห่งความผิดและพฤติการณ์ต่าง ๆ ต่อพนักงานสอบสวนเป็นหน้าที่ที่ผู้เสียหายต้องกระทำในการร้องทุกข์กล่าวโทษ จะถือว่าโจทก์ยินยอมเปิดเผยชื่อและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อสาธารณชนหาได้ไม่ แม้โจทก์จะเป็นนักการเมือง เป็นบุคคลสาธารณะ แต่ก็ย่อมมีสิทธิของความเป็นส่วนตัว มิใช่ว่าเมื่อเป็นนักการเมืองหรือบุคคลสาธารณะแล้วจะทำให้สิทธิในความเป็นส่วนตัวต้องสูญสิ้นไปทั้งหมด การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 แต่มิใช่เป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม มาตรา 423 โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณและความเสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของตนโดยประการอื่นตามมาตรา 423 ได้ โดยจำเลยทั้งสองต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น และแม้จะมีบุคคลอื่นกระทำละเมิดด้วยก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้กระทำละเมิดรายนั้น ๆ มิใช่เหตุตามกฎหมายที่จำเลยทั้งสองจะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลปรับลดค่าเสียหายที่ตนต้องรับผิดลง แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 34 จะบัญญัติคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว และมาตรา 28 บัญญัติให้ผู้ถูกกระทำละเมิดสามารถยกขึ้นเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีบทบัญญัติในทำนองเดียวกันนี้ก็ตาม แต่การที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ

ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

7.         เรื่อง การประกันชีวิต

ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ มาตรา 5 ได้ให้คำจำกัดความของตัวแทนประกันชีวิตว่าหมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ตัวแทนประกันชีวิตอาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าช. เป็นตัวแทนประกันชีวิตผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากจำเลยให้ทำสัญญาประกันชีวิตในนามของจำเลยได้ เช่นนี้ ช. จึงเป็นเพียงตัวแทนในการหาผู้เอาประกันมีหน้าที่ชักชวนให้ผู้อื่นมาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยเท่านั้นไม่ใช่ตัวแทนในการทำสัญญาประกันชีวิตของจำเลย จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ. การที่ ช. ได้ทราบหรือควรทราบข้อเท็จจริงขณะทำหนังสือรับรองสุขภาพว่า ส. เคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบและมีอาการแน่นหน้าอกเนื่องจากดื่มสุรามากได้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล อ. จะถือว่าจำเลยได้ทราบความจริงดังกล่าวด้วยหาได้ไม่ นอกจากนี้จำเลยยังนำสืบว่าหลังจาก ส. เสียชีวิตจำเลยได้ตรวจสอบหลักฐานและประวัติเกี่ยวกับสุขภาพของ ส. ทราบผลการตรวจสอบเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2540 ว่า ส. ปกปิดข้อความจริงว่าเคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบ หากจำเลยทราบความจริงจำเลยจะไม่ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตกับ ส. โดยโจทก์ไม่นำสืบหักล้าง ดังนั้น การที่ ส. รู้อยู่ว่าตนเป็นโรคตับอักเสบแต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จำเลยปฏิเสธไม่ทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น ย่อมทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2540 จึงเป็นการบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้แล้ว

ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

 

8.         เรื่อง หมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นซึ่งหน้า

จำเลยด่าว่าผู้เสียหายว่า "อีเหี้ย อีสัตว์ อีควาย มึงคิดว่าเมียกูกินเงินไปหรือไง" และชี้มือไปที่ผู้เสียหาย ถ้อยคำดังกล่าวนอกจากจะเป็นคำหยาบคายแล้ว ยังมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบผู้เสียหายเป็นสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สี่เท้า และกล่าวหาผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายว่าภริยาจำเลยของจำเลยเอาเงินของกลุ่มแม่บ้านไปใช้เป็นการส่วนตัว ถ้อยคำดังกล่าวมีลักษณะเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย

ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

 

9.         เรื่อง รถหายในห้างสรรพสินค้าใครต้องรับผิดชอบ

ทนายเตือนภัย: แม้เจ้าของห้างสรรพสินค้าจะต้องรับผิดชอบ คุณก็ไม่ควรประมาท ล๊อครถยนต์ที่ครั้งที่คุณต้องไปจากรถยนต์ที่จอดไว้

จำเลยเป็นห้างสรรพสินค้าขายปลีกและขายส่งสินค้าอุปโภคและบริโภค ย่อมต้องให้ความสำคัญด้านบริการต่าง ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการเกี่ยวกับสถานที่จอดรถซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของลูกค้าที่จะเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการอื่น ๆ หรือไม่ แม้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 8 (9), 34 บัญญัติให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของอาคารต้องจัดให้มีพื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจร แต่จำเลยยังต้องคำนึงและมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของลูกค้าทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเอง การที่จำเลยเคยจัดให้มีการแจกบัตรสำหรับรถของลูกค้าที่เข้ามาในห้างซึ่งเป็นวิธีการที่ค่อนข้างรัดกุม เพราะหากไม่มีบัตรผ่าน กรณีจะนำรถยนต์ออกไปจะต้องถูกตรวจสอบโดยพนักงานของจำเลย แต่ขณะเกิดเหตุกลับยกเลิกวิธีการดังกล่าวเสียโดยใช้กล้องวรจรปิดแทน เป็นเหตุให้คนร้ายสามารถเข้าออกลานจอดรถห้างฯ ของจำเลยและโจรกรรมรถได้โดยง่ายยิ่งขึ้นแม้จำเลยจะปิดประกาศว่าจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ รวมทั้งการที่ลูกค้าก็ทราบถึงการยกเลิกการแจกบัตรจอดรถ แต่ยังนำรถเข้ามาจอดก็ตาม ก็เป็นเรื่องข้อกำหนดของจำเลยแต่ฝ่ายเดียวไม่มีผลเป็นการยกเว้นความรับผิดในการทำละเมิดของจำเลย

ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

 

10.     เรื่อง จอดรถ ขับรถเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย

ทนายเตือนภัย คุณเป็นผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกับคนอื่น ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ความผิดในขณะจอดรถกับความผิดในขณะขับรถต่างกัน

การที่จำเลยจอดรถในทางเดินรถโดยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา56 วรรคสอง,152 เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,390 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

 ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4) และ 157ต้องเป็นผู้ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน และตามมาตรา 78 และ 160 ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อจำเลยจอดรถในทางเดินรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4),78,157 และ 160 วรรคหนึ่งปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องในความผิดดังกล่าวทั้งสองข้อหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,215,225

ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

คำพิพากษาที่สำคัญ (2)

11.        เรื่อง อายุความฟ้องคดีแชร์

ทนายเตือนภัย: การเล่นแชร์ถูกกฎหมายครับ จะผิดกฎหมายอาญา ฐานโฉ้โกงก็ต่อเมื่อหลอกว่ามีการเล่นแชร์ เก็บเงินไปแล้วหายดข้ากลีบเมฆไปเลย อันนี้เป็นความผิดทางอาญาแน่ แต่ถ้ามีคนเบี้ยว วงแชร์ล้ม ฟ้องได้ภายใน 10 ปีครับ

พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประชาชนและเพื่อมิให้มีการประกอบธุรกิจการเล่นแชร์ที่กระทบต่อการระดมเงินออมของสถาบันการเงินที่ทางราชการสนับสนุนและรับผิดชอบซึ่งส่งผลกระทบไปถึงระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวม แต่การเล่นแชร์ของประชาชนโดยทั่วไปที่มิได้ดำเนินการเป็นธุรกิจยังให้กระทำต่อไปได้ ดังนั้น มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงบัญญัติห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน 4 ประการ เช่น ตามมาตรา 6 (3) อีกทั้งมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้บัญญัติเอาความผิดแก่นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่ฝ่าฝืนมาตรา 6 แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าประสงค์จะเอาความผิดเฉพาะผู้เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น ดังนั้น นิติกรรมการเล่นแชร์ของนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้นที่ตกเป็นโมฆะ แต่นิติกรรมการเล่นแชร์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาชิกวงแชร์ไม่ตกเป็นโมฆะไปด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 สิทธิหรือหน้าที่ของสมาชิกวงแชร์มีความผูกพันตามกฎหมายอยู่อย่างไรความผูกพันย่อมมีอยู่เช่นนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ประมูลแชร์ได้และสั่งจ่ายเช็คเงินค่าแชร์มอบให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อนำไปมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูล เพื่อให้โจทก์นำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ระงับการจ่ายเงิน ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องรับผิดชำระเงินค่าแชร์แก่โจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการตกลงกันระหว่างผู้เล่น สามารถบังคับกันได้ตามกฎหมาย แต่อายุความเกี่ยวกับการฟ้องเรียกเงินค่าแชร์ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อวงแชร์ล้มในวันที่ 20 กรกฎาคม 2540 จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินในวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 และเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในวันเดียวกัน โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้นับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป เมื่อนับถึงวันที่ 31 มีนาคม2546 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

 ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

 

พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประชาชนและเพื่อมิให้มีการประกอบธุรกิจการเล่นแชร์ที่กระทบต่อการระดมเงินออมของสถาบันการเงินที่ทางราชการสนับสนุนและรับผิดชอบซึ่งส่งผลกระทบไปถึงระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวม แต่การเล่นแชร์ของประชาชนโดยทั่วไปที่มิได้ดำเนินการเป็นธุรกิจยังให้กระทำต่อไปได้ ดังนั้น มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงบัญญัติห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน 4 ประการ เช่น ตามมาตรา 6 (3) อีกทั้งมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้บัญญัติเอาความผิดแก่นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่ฝ่าฝืนมาตรา 6 แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าประสงค์จะเอาความผิดเฉพาะผู้เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น ดังนั้น นิติกรรมการเล่นแชร์ของนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้นที่ตกเป็นโมฆะ แต่นิติกรรมการเล่นแชร์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาชิกวงแชร์ไม่ตกเป็นโมฆะไปด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 สิทธิหรือหน้าที่ของสมาชิกวงแชร์มีความผูกพันตามกฎหมายอยู่อย่างไรความผูกพันย่อมมีอยู่เช่นนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ประมูลแชร์ได้และสั่งจ่ายเช็คเงินค่าแชร์มอบให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อนำไปมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูล เพื่อให้โจทก์นำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ระงับการจ่ายเงิน ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องรับผิดชำระเงินค่าแชร์แก่โจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการตกลงกันระหว่างผู้เล่น สามารถบังคับกันได้ตามกฎหมาย แต่อายุความเกี่ยวกับการฟ้องเรียกเงินค่าแชร์ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อวงแชร์ล้มในวันที่ 20 กรกฎาคม 2540 จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินในวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 และเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในวันเดียวกัน โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้นับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป เมื่อนับถึงวันที่ 31 มีนาคม2546 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

 ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

 

12.         เรื่อง อายุความฟ้องคดีแชร์

ทนายเตือนภัย: การเล่นแชร์ถูกกฎหมายครับ จะผิดกฎหมายอาญา ฐานโฉ้โกงก็ต่อเมื่อหลอกว่ามีการเล่นแชร์ เก็บเงินไปแล้วหายดข้ากลีบเมฆไปเลย อันนี้เป็นความผิดทางอาญาแน่ แต่ถ้ามีคนเบี้ยว วงแชร์ล้ม ฟ้องได้ภายใน 10 ปีครับ

พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประชาชนและเพื่อมิให้มีการประกอบธุรกิจการเล่นแชร์ที่กระทบต่อการระดมเงินออมของสถาบันการเงินที่ทางราชการสนับสนุนและรับผิดชอบซึ่งส่งผลกระทบไปถึงระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวม แต่การเล่นแชร์ของประชาชนโดยทั่วไปที่มิได้ดำเนินการเป็นธุรกิจยังให้กระทำต่อไปได้ ดังนั้น มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงบัญญัติห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน 4 ประการ เช่น ตามมาตรา 6 (3) อีกทั้งมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้บัญญัติเอาความผิดแก่นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่ฝ่าฝืนมาตรา 6 แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าประสงค์จะเอาความผิด
เฉพาะผู้เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น ดังนั้น นิติกรรมการเล่นแชร์ของนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้นที่ตกเป็นโมฆะ แต่นิติกรรมการเล่นแชร์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาชิกวงแชร์ไม่ตกเป็นโมฆะไปด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 

 ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

13.         เรื่อง เพิกถอนนิติกรรมการขายฝาก  

โจทก์และจำเลยมีเจตนาจะผูกพันในเรื่องการกู้ยืมเงินระหว่าง อ. กับจำเลยโดยมีโจทก์เป็นผู้ค้ำประกัน และให้โฉนดที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้ หาได้มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามสัญญาขายฝากไม่ แม้การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งในการทำนิติกรรมอำพรางตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสองนั้น คู่กรณีจะต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรมคือ นิติกรรมหนึ่งแสดงให้ปรากฏออกมาโดยเปิดเผย คู่กรณีไม่ประสงค์จะให้มีผลบังคับอย่างใดตามกฎหมาย ส่วนอีกนิติกรรมหนึ่งเป็นนิติกรรมที่ไม่เปิดเผยเรียกว่านิติกรรมที่ถูกอำพรางปกปิดไว้โดยคู่กรณีประสงค์จะให้นิติกรรมที่ถูกอำพรางปกปิดไว้นั้นใช้บังคับระหว่างกันเองได้ แม้คู่กรณีในเรื่องนิติกรรมอำพรางจะต้องมีเพียงคู่เดียวก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์เป็นสามีของ อ. ผู้กู้ ทั้งยังเป็นผู้ค้ำประกันในสัญญากู้เงิน โดยโจทก์มีความประสงค์ต้องการใช้เงิน แสดงว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในเงินกู้ดังกล่าวด้วย การที่โจทก์และ อ. ทำนิติกรรมดังกล่าวจึงมีผลประโยชน์ร่วมกัน และถือได้ว่าเป็นฝ่ายเดียวกัน ดังนี้ แม้คู่กรณีในนิติกรรมขายฝากจะเป็นนิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลย ส่วนนิติกรรมการกู้ยืมเป็นนิติกรรมระหว่าง อ. กับจำเลย ก็ถือได้ว่าคู่กรณีในนิติกรรมทั้งสองนิติกรรมนั้นเป็นคู่กรณีเดียวกัน ฟังได้ว่านิติกรรมขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืม จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ต้องบังคับตามสัญญากู้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง โดยจำเลยยังมีสิทธิยึดโฉนดที่ดินพิพาทเป็นประกันได้

เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่ามีการชำระหนี้ตามสัญญากู้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากกับขอให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินพิพาทได้ และเมื่อการขายฝากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างตกเป็นโมฆะดังกล่าว ศาลฎีกาก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนเสีย

 ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

 

14.         เรื่อง คำ้ประกันตกทอดถึงลูกหลาน

ค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันหาได้มีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อเจ้าหนี้โดยอาศัยความสามารถหรือคุณสมบัติบางอย่างซึ่งต้องกระทำเป็นการเฉพาะตัวไม่ ผู้ค้ำประกันมีความผูกพันต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นความผูกพันในทางทรัพย์สินเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อ พ. ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหนี้อันสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคหนึ่ง แม้ขณะที่ พ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ผู้กู้ยังไม่ผิดสัญญาหรือผิดนัดก็ตาม สัญญาค้ำประกันก็หาได้ระงับไปเพราะความตายของ พ. ไม่ สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาค้ำประกันที่ พ. ทำกับโจทก์จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1600

 ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

15.         เรื่อง ฟ้องแพทย์และโรงพยาบาล

ทนายเตือนภัย: อย่าคิดเพียงว่าเป็นเวรเป็นกรรมของเราเอง ต้องดูก่อนว่าการปฎิบัติหน้าที่ของแพทย์ พยาบาลหรือสถานประกอบการนั้น ทำหน้าที่ได้ถูกต้องหรือไม่ เพื่อสร้างมาตราฐานของแต่ละวิชาชีพครับ 

จำเลยที่ 3 มิได้ตรวจดูอาการของโจทก์ตั้งแต่แรกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพนมสารคามด้วยตนเอง แต่วินิจฉัยโรคและสั่งการรักษาอาการของโจทก์ตามที่ได้รับรายงานทางโทรศัพท์จากพยาบาลแทนโดยไม่ได้ตรวจสอบประวัติการรักษาของโจทก์ด้วยตนเอง แม้จำเลยที่ 3 จะสอบถามจากพยาบาลก่อนที่พยาบาลจะฉีดยาให้แก่โจทก์เพื่อทำการรักษาก็ตาม ก็มิใช่วิสัยของบุคคลผู้มีวิชาชีพเป็นแพทย์จะพึงกระทำไม่ ทั้งห้องแพทย์เวรกับห้องฉุกเฉินที่โจทก์อยู่ห่างกันเพียง 20 เมตร ไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอันทำให้จำเลยที่ 3 ไม่สามารถมาตรวจวินิจฉัยอาการของโจทก์ได้ด้วยตนเองแต่อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อ เมื่อพยาบาลฉีดยาบริคานิลให้แก่โจทก์ตามที่จำเลยที่3 สั่งการ หลังจากนั้นโจทก์มีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีอาการเช่นว่านั้นมาก่อน อาการแพ้ยาดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

ความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 3 ทำการรักษา หากการรักษานั้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรแห่งวิชาชีพแพทย์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายโจทก์ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 อันเป็นการกระทำละเมิด จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 อันเป็นหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ได้

ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย ค่าเสียสมรรถภาพในการมองเห็นและค่าสูญเสียความสวยงาม ถือเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน ซึ่งโจทก์จึงมีสิทธิเรียกได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ประกอบอาชีพด้วยหรือไม่

ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

16.         เรื่อง การเช่าอสังหาริมทรัพย์

ทนายเตือนภัย: การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้าจะให้กฎหมายคุ้มครองก็ต้องทำตามที่กฎหมายกำหนด คือ ต้องจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน ถ้าคุณไม่ทำตามกฎหมาย กฎหมายก็จะไม่คุ้มครองคุณ ตามฎีกานี้ครับ

โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทรวม 2 แปลง จากจำเลยมีกำหนด 30 ปีสัญญาเช่าทำเป็นหนังสือกันเองรวม 10 ฉบับ มีกำหนดเวลาเช่าฉบับละ3 ปีติดต่อกัน โดยมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะไปจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ ภายหลังที่จำเลยจัดสรรที่ดินให้เช่าหมดแล้ว ดังนี้ การเช่าที่ดินตามฟ้องมีระยะเวลาเช่าเกินกว่า 3 ปี เมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนการเช่าที่ดินมีกำหนดเวลา 30 ปีไม่ได้

ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

 

17.         เรื่อง ทางภาระจำยอม ภาระจำยอม

ที่ดินเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมมนุษย์ของเรา เมื่อมีการเปิดทางให้ใช้เป็นทางเข้าออกเกินกว่า 10 ปีที่ดินแปลงนั้นก็ตกอยู่ในภาระจำยอมที่ให้สิทธิกับผู้ใช้ทางนั้นตามกฎหมาย การโอนที่ดินแปลงที่มีภาระจำยอมให้กับบุคคลอื่น ภาระจำยอมนั้นสิ้นสุดไปด้วยหรือไม่ ศาลมีหลักการพิจารณาไว้ตามฎีกานี้ครับ

ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397,1399 และในลักษณะซื้อขายตาม มาตรา 480 ก็ยังบัญญัติว่า"ถ้าอสังหาริมทรัพย์ต้องแสดงว่าตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอมโดยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิด  เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่าทรัพย์นั้นปลอดจากภาระจำยอมอย่างใดๆ ทั้งสิ้นหรือปลอดจากภาระจำยอมอันนั้น"

ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียนผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วยแต่อย่างไรไม่  สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น  ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น  ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่7/2502)

ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

 

18.         เรื่อง อะไรคือทรัพย์ อะไรคือมรดก

ทรัพย์สิน เงิน ทอง เป็นของนอกกายก็จริง ในระหว่างที่เรามีชีวิตอยู่ เราเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น เราก็มีสิทธิที่จะใช้หรือจำหน่าย จ่าย โอน ให้กับใครๆก็ได้ แต่ถ้าก่อนตาย ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์นั้นก็ตกเป็นของผู้รับพินัยกรรมครับ แต่ถ้าไม่ทำพินัยกรรม เมื่อตายไปแล้ว ทรัพย์ถึงจะตกเป็นของทายาท ศาลได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สิน สัญญา ข้อตกลงกันไว้ดังนี้ครับ

ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน โดยเป็นทรัพย์มรดกของ ช. กึ่งหนึ่ง และเป็นทรัพย์มรดกของฉ. กึ่งหนึ่ง

 การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.

 ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น

ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..

19.         เรื่อง หุ้นส่วน บริษัท

   การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสาม จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น เมื่อจำเลยยังไม่ได้จดแจ้งการรับโอนหุ้นของโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น จึงไม่ถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิที่จะเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1176 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมดังกล่าว   การประชุมวิสามัญเป็นการประชุมใหญ่ครั้งอื่นนอกจากการประชุมสามัญที่กฎหมายกำหนดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกระยะเวลาสิบสองเดือน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1171 ซึ่งการประชุมวิสามัญโดยปกติจะเป็นเรื่องรีบด่วนสำคัญที่ต้องให้ที่ประชุมใหญ่วินิจฉัย ไม่อาจรอจนกว่าจะมีการประชุมสามัญได้และผู้ถือหุ้นอาจต้องออกเสียงลงมติดังเช่นในกรณีเพิ่มทุนและลดทุนของจำเลยนี้ หากไม่มีการพักการโอนหุ้นก็อาจมีปัญหาในการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าประชุมและผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ที่ประชุมกรรมการจำเลยจึงมีมติให้ปิดสมุดพักการโอนหุ้นได้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด

ปรึกษาทนายความ 099 464 4445  ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com  
……………………………………………………..