รู้จักทนาย รู้กฎหมาย ไม่เสียเปรียบ
รู้จักทนายความทั่วประเทศไทย
เวปไซต์เครือข่ายทนายความ
สมาชิกพันธมิตรเครือข่ายทนายความ
กรุงเทพมหานคร
เวปไซต์: https://www.ทนายกรุงเทพ.com
เวปไซต์: https://www.ทนายภูวงษ์.com
ภาคกลาง
จังหวัดนครปฐม - เวปไซต์: https://www.ทนายอนันต์.com
จังหวัดอุทัยธานี - เวปไซต์: https://www.ทนายรัชเดช.com
จังหวัดสระบุรี - เวปไซต์: https://www.ทนายนิดสระบุรี.com
จังหวัดพิจิตร - เวปไซต์: https://www.ทนายธีรภัทร.com
จังหวัดสุพรรณบุรี - เวปไซต์: https://www.ทนายจักรพันธ์.com
จังหวัดพิษณุโลก - เวปไซต์: https://www.ทนายเสกสรรค์.com
จังหวัดนครสวรรค์ - เวปไซต์: https://www.ทนายบ่าว.com
จังหวัดสมุทรสาคร - เวปไซต์: https://www.ทนายชีวารัตน์.com
จังหวัดลพบุรี - เวปไซต์: https://www.ทนายประดิษฐ์.com
************************************************
ภาคเหนือ
จังหวัดเชียงราย - เวปไซต์: https://www.ทนายแบงค์.com
จังหวัดพะเยา - เวปไซต์: https://www.ทนายอรอนงค์.com
จังหวัดลำพูน - เวปไซต์: https://www.ทนายอธิปไตย.com
จังหวัดน่าน - เวปไซต์: https://www.ทนายแขก.com
*********************************************
ภาคอีสาน
จังหวัดสุรินทร์ - เวปไซต์: https://www.ทนายครูองอาจ.com
จังหวัดสุรินทร์ - เวปไซต์:
https://www.ทนายสมรส.com
จังหวัดบุรีรัมย์ - เวปไซต์: https://www.ทนายเรวัต.com
จังหวัดชัยภูมิ - เวปไซต์: https://www.ทนายธนะรัชต์.com
จังหวัดขอนแก่น - เวปไซต์: https://www.ทนายณฐพฤกษ.com
จังหวัดขอนแก่น - เวปไซต์: https://www.ทนายศิรประภา.com
จังหวัดขอนแก่น (ชุมแพ) - เวปไซต์: https://www.ทนายยศพนธ์.com
จังหวัดศรีสะเกษ ทนาย - เวปไซต์: https://www.ทนายโตน.com
จังหวัดศรีสะเกษ - เวปไซต์: https://www.ทนายเตชทัต.com
จังหวัดนครราชสีมา - เวปไซต์: https://www.ทนายพลัฎฐ์.com
จังหวัดนครราชสีมา - เวปไซต์: https://www.ทนายนิติรัตน์.com
จังหวัดสกลนคร - เวปไซต์: https://www.ทนายวีระพงษ์.com
จังหวัดเลย- เวปไซต์: https://www.ทนายขจรศักดิ์.com
จังหวัดร้อยเอ็ด - เวปไซต์: https://www.ทนายพชรร้อยเอ็ด.com
จังหวัดอำนาจเจริญ - เวปไซต์: https://www.ทนายพิศาล.com
จังหวัดอุบลราชธานี - เวปไซต์: https://www.ทนายพิชิตชัย.com
จังหวัดอุบลราชธานี - เวปไซต์: https://www.ทนายตั้มอุบลราชธานี.com
จังหวัดอุดรธานี - เวปไซต์: https://www.ทนายนิธิวัฒน์.com
************************************************
ภาคใต้
นครศรีธรรมราช - เวปไซต์: https://www.ทนายคดีครอบครัว.com
จังหวัดสุราษฎร์ธานี - เวปไซต์: https://www.ทนายเอกทนายคุ้มครองสิทธิ.com
จังหวัดสงขลา - เวปไซต์: https://www.ทนายบุญวัฒน์.com
จังหวัดสงขลา - เวปไซต์:
https://www.ทนายเป็นต่อ.com
จังหวัดนราธิวาส - เวปไซต์: https://www.ทนายธนกร.com
*************************************************
ภาคตะวันออก
จังหวัดชลบุรี - เวปไซต์: https://www.สมาร์ทไทยลอว์เยอร์.com
จังหวัดจันทบุรี - เวปไซต์: https://www.ทนายอุลิช.com
**************************************************
ภาคตะวันตก
จังหวัดกาญจนบุรี - เวปไซต์: https://www.ทนายภู่.com
จังหวัดกาญจนบุรี (ทองผาภูมิ) - เวปไซต์: https://www.ทนายเสือ.com
คำพิพากษาฎีกาที่คุณควรรู้ (1)
- เรื่อง เลิกจ้าง
- เรื่อง ผิดสัญญา
- เรื่อง ครอบครัว
- เรื่อง บรรลุนิติภาวะ
- เรื่อง การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
- เรื่อง ละเมิด
- เรื่อง ประกันชีวิต
- เรื่อง หมิ่นประมาท
- เรื่อง รถหายในห้างสรรพสินค้าใครรับผิดชอบ
- เรื่อง จอดรถ ขับรถเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย
- เรื่อง แชร์ อายุความ
- เรื่อง เพิกถอนนิติกรรม ขายฝาก
- เรื่อง ค้ำประกัน
- เรื่อง ฟ้องแพทย์และโรงพยาบาล
- เรื่อง เพิกถอนนิติกรรมการขายฝาก
- เรื่อง คำ้ประกันตกทอดถึงลูกหลาน
- เรื่อง ฟ้องแพทย์และโรงพยาบาล
- เรื่อง การเช่าอสังหาริมทรัพย์
- เรื่อง ทางภาระจำยอม ภาระจำยอม
- เรื่อง อะไรคือทรัพย์ อะไรคือมรดก
- เรื่อง มรดก
- เรื่อง หุ้นส่วน บริษัท
คำพิพากษาฎีกาที่คุณควรรู้ (2)
- เรื่อง เลิกจ้าง
- เรื่อง ผิดสัญญา
- เรื่อง ครอบครัว
- เรื่อง บรรลุนิติภาวะ
- เรื่อง การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
- เรื่อง ละเมิด
- เรื่อง ประกันชีวิต
- เรื่อง หมิ่นประมาท
- เรื่อง รถหายในห้างสรรพสินค้าใครรับผิดชอบ
- เรื่อง จอดรถ ขับรถเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย
- เรื่อง แชร์ อายุความ
- เรื่อง เพิกถอนนิติกรรม ขายฝาก
- เรื่อง ค้ำประกัน
- เรื่อง ฟ้องแพทย์และโรงพยาบาล
********************************************* - เรื่อง เลิกจ้าง
ทนายเตือนภัย: การจ้างงานไม่จำเป็นต้องมีสัญญาจ้างนะครับ พูดกันด้วยปากเปล่าให้มาทำงานวันนี้ และสิ้นสุดวันนี้ถือเป็นการจ้างงานที่มีกำหนดการเลิกจ้างที่แน่นอน ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชย แต่ก็ต้องดูลักษณะของงานด้วยนะครับ ศึกษาฎีกานี้ครับ
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน โดยกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดไว้เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้างนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า งานที่โจทก์ทำมีลักษณะเป็นงานถาวรมิใช่เป็นงานครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการการเลิกจ้างไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้าง จำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไป ก็ต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 จำเลยต้องชดใช้ค่าชดเชยแก่โจทก์ ปัญหาว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาที่มีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการหรือไม่นั้น จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องเป็นฝ่ายยกขึ้นต่อสู้คดีไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องบรรยายมาในคำฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้ยกเรื่องดังกล่าวขึ้นต่อสู้คดี จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
- เรื่อง สัญญาต้องเป็นสัญญา
เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หากคู่ความฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาดังกล่าว ปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วแต่ยังขายไม่ได้ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมจำเลยจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์ได้ ก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้การที่ยังขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่ได้มิใช่กรณีขายแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของโจทก์ การที่จำเลยหักบัญชีเงินฝากของ จทก์ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงเป็นการปฏิบัติ นอกเหนือและผิดไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยไม่อาจทำได้ และจำเลยจะอ้างว่าเป็นการหักกลบลบหนี้ ก็มิได้เพราะโจทก์และจำเลยมีข้อสัญญาที่จะต้องปฏิบัติ ต่อกันอยู่
- เรื่อง บรรลุนิติภาวะ
ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรสย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวพัน ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง ย่อมขาดอายุความมรดก
มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445
ปรึกษาหรือหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้ ทนายภูวงษ์.com
- เรื่อง: การแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมกัน
ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน โดยเป็นทรัพย์มรดกของ ช. กึ่งหนึ่ง และเป็นทรัพย์มรดกของฉ. กึ่งหนึ่ง
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
- เรื่อง ละเมิด
แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นสื่อมวลชน มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาหรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ๆ แต่ก็หาอาจกระทำการใด ๆ ที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น การที่จำเลยทั้งสองนำข่าวการมีเพศสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งซึ่งหนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ เคยนำเสนอภาพและข่าวไปก่อนหน้านั้น แต่ยังไม่ได้ระบุว่าชายหญิงในภาพเป็นใครมาเผยแพร่ซ้ำโดยระบุในเนื้อข่าวว่า ชายในภาพที่กำลังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักคือโจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายต้องแจ้งชื่อ ลักษณะแห่งความผิดและพฤติการณ์ต่าง ๆ ต่อพนักงานสอบสวนเป็นหน้าที่ที่ผู้เสียหายต้องกระทำในการร้องทุกข์กล่าวโทษ จะถือว่าโจทก์ยินยอมเปิดเผยชื่อและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อสาธารณชนหาได้ไม่ แม้โจทก์จะเป็นนักการเมือง เป็นบุคคลสาธารณะ แต่ก็ย่อมมีสิทธิของความเป็นส่วนตัว มิใช่ว่าเมื่อเป็นนักการเมืองหรือบุคคลสาธารณะแล้วจะทำให้สิทธิในความเป็นส่วนตัวต้องสูญสิ้นไปทั้งหมด การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 แต่มิใช่เป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม มาตรา 423 โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณและความเสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของตนโดยประการอื่นตามมาตรา 423 ได้ โดยจำเลยทั้งสองต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น และแม้จะมีบุคคลอื่นกระทำละเมิดด้วยก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้กระทำละเมิดรายนั้น ๆ มิใช่เหตุตามกฎหมายที่จำเลยทั้งสองจะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลปรับลดค่าเสียหายที่ตนต้องรับผิดลง แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 34 จะบัญญัติคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว และมาตรา 28 บัญญัติให้ผู้ถูกกระทำละเมิดสามารถยกขึ้นเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีบทบัญญัติในทำนองเดียวกันนี้ก็ตาม แต่การที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ
- เรื่อง ละเมิด
แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นสื่อมวลชน มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาหรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ๆ แต่ก็หาอาจกระทำการใด ๆ ที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น การที่จำเลยทั้งสองนำข่าวการมีเพศสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งซึ่งหนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ เคยนำเสนอภาพและข่าวไปก่อนหน้านั้น แต่ยังไม่ได้ระบุว่าชายหญิงในภาพเป็นใครมาเผยแพร่ซ้ำโดยระบุในเนื้อข่าวว่า ชายในภาพที่กำลังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักคือโจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายต้องแจ้งชื่อ ลักษณะแห่งความผิดและพฤติการณ์ต่าง ๆ ต่อพนักงานสอบสวนเป็นหน้าที่ที่ผู้เสียหายต้องกระทำในการร้องทุกข์กล่าวโทษ จะถือว่าโจทก์ยินยอมเปิดเผยชื่อและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อสาธารณชนหาได้ไม่ แม้โจทก์จะเป็นนักการเมือง เป็นบุคคลสาธารณะ แต่ก็ย่อมมีสิทธิของความเป็นส่วนตัว มิใช่ว่าเมื่อเป็นนักการเมืองหรือบุคคลสาธารณะแล้วจะทำให้สิทธิในความเป็นส่วนตัวต้องสูญสิ้นไปทั้งหมด การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 แต่มิใช่เป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม มาตรา 423 โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณและความเสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของตนโดยประการอื่นตามมาตรา 423 ได้ โดยจำเลยทั้งสองต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น และแม้จะมีบุคคลอื่นกระทำละเมิดด้วยก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้กระทำละเมิดรายนั้น ๆ มิใช่เหตุตามกฎหมายที่จำเลยทั้งสองจะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลปรับลดค่าเสียหายที่ตนต้องรับผิดลง แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 34 จะบัญญัติคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว และมาตรา 28 บัญญัติให้ผู้ถูกกระทำละเมิดสามารถยกขึ้นเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีบทบัญญัติในทำนองเดียวกันนี้ก็ตาม แต่การที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ
- เรื่อง การประกันชีวิต
ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ มาตรา 5 ได้ให้คำจำกัดความของตัวแทนประกันชีวิตว่าหมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ตัวแทนประกันชีวิตอาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าช. เป็นตัวแทนประกันชีวิตผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากจำเลยให้ทำสัญญาประกันชีวิตในนามของจำเลยได้ เช่นนี้ ช. จึงเป็นเพียงตัวแทนในการหาผู้เอาประกันมีหน้าที่ชักชวนให้ผู้อื่นมาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยเท่านั้นไม่ใช่ตัวแทนในการทำสัญญาประกันชีวิตของจำเลย จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ. การที่ ช. ได้ทราบหรือควรทราบข้อเท็จจริงขณะทำหนังสือรับรองสุขภาพว่า ส. เคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบและมีอาการแน่นหน้าอกเนื่องจากดื่มสุรามากได้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล อ. จะถือว่าจำเลยได้ทราบความจริงดังกล่าวด้วยหาได้ไม่ นอกจากนี้จำเลยยังนำสืบว่าหลังจาก ส. เสียชีวิตจำเลยได้ตรวจสอบหลักฐานและประวัติเกี่ยวกับสุขภาพของ ส. ทราบผลการตรวจสอบเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2540 ว่า ส. ปกปิดข้อความจริงว่าเคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบ หากจำเลยทราบความจริงจำเลยจะไม่ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตกับ ส. โดยโจทก์ไม่นำสืบหักล้าง ดังนั้น การที่ ส. รู้อยู่ว่าตนเป็นโรคตับอักเสบแต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จำเลยปฏิเสธไม่ทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น ย่อมทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2540 จึงเป็นการบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้แล้ว
- เรื่อง หมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นซึ่งหน้า
จำเลยด่าว่าผู้เสียหายว่า "อีเหี้ย อีสัตว์ อีควาย มึงคิดว่าเมียกูกินเงินไปหรือไง" และชี้มือไปที่ผู้เสียหาย ถ้อยคำดังกล่าวนอกจากจะเป็นคำหยาบคายแล้ว ยังมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบผู้เสียหายเป็นสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สี่เท้า และกล่าวหาผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายว่าภริยาจำเลยของจำเลยเอาเงินของกลุ่มแม่บ้านไปใช้เป็นการส่วนตัว ถ้อยคำดังกล่าวมีลักษณะเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย
- เรื่อง รถหายในห้างสรรพสินค้าใครต้องรับผิดชอบ
ทนายเตือนภัย: แม้เจ้าของห้างสรรพสินค้าจะต้องรับผิดชอบ คุณก็ไม่ควรประมาท ล๊อครถยนต์ที่ครั้งที่คุณต้องไปจากรถยนต์ที่จอดไว้
จำเลยเป็นห้างสรรพสินค้าขายปลีกและขายส่งสินค้าอุปโภคและบริโภค ย่อมต้องให้ความสำคัญด้านบริการต่าง ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการเกี่ยวกับสถานที่จอดรถซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของลูกค้าที่จะเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการอื่น ๆ หรือไม่ แม้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 8 (9), 34 บัญญัติให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของอาคารต้องจัดให้มีพื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจร แต่จำเลยยังต้องคำนึงและมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของลูกค้าทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเอง การที่จำเลยเคยจัดให้มีการแจกบัตรสำหรับรถของลูกค้าที่เข้ามาในห้างซึ่งเป็นวิธีการที่ค่อนข้างรัดกุม เพราะหากไม่มีบัตรผ่าน กรณีจะนำรถยนต์ออกไปจะต้องถูกตรวจสอบโดยพนักงานของจำเลย แต่ขณะเกิดเหตุกลับยกเลิกวิธีการดังกล่าวเสียโดยใช้กล้องวรจรปิดแทน เป็นเหตุให้คนร้ายสามารถเข้าออกลานจอดรถห้างฯ ของจำเลยและโจรกรรมรถได้โดยง่ายยิ่งขึ้นแม้จำเลยจะปิดประกาศว่าจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ รวมทั้งการที่ลูกค้าก็ทราบถึงการยกเลิกการแจกบัตรจอดรถ แต่ยังนำรถเข้ามาจอดก็ตาม ก็เป็นเรื่องข้อกำหนดของจำเลยแต่ฝ่ายเดียวไม่มีผลเป็นการยกเว้นความรับผิดในการทำละเมิดของจำเลย
- เรื่อง จอดรถ ขับรถเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย
ทนายเตือนภัย คุณเป็นผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกับคนอื่น ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ความผิดในขณะจอดรถกับความผิดในขณะขับรถต่างกัน
การที่จำเลยจอดรถในทางเดินรถโดยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา56 วรรคสอง,152 เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,390 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4) และ 157ต้องเป็นผู้ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน และตามมาตรา 78 และ 160 ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อจำเลยจอดรถในทางเดินรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4),78,157 และ 160 วรรคหนึ่งปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องในความผิดดังกล่าวทั้งสองข้อหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,215,225
- เรื่อง อายุความฟ้องคดีแชร์
ทนายเตือนภัย: การเล่นแชร์ถูกกฎหมายครับ จะผิดกฎหมายอาญา ฐานโฉ้โกงก็ต่อเมื่อหลอกว่ามีการเล่นแชร์ เก็บเงินไปแล้วหายดข้ากลีบเมฆไปเลย อันนี้เป็นความผิดทางอาญาแน่ แต่ถ้ามีคนเบี้ยว วงแชร์ล้ม ฟ้องได้ภายใน 10 ปีครับ
พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประชาชนและเพื่อมิให้มีการประกอบธุรกิจการเล่นแชร์ที่กระทบต่อการระดมเงินออมของสถาบันการเงินที่ทางราชการสนับสนุนและรับผิดชอบซึ่งส่งผลกระทบไปถึงระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวม แต่การเล่นแชร์ของประชาชนโดยทั่วไปที่มิได้ดำเนินการเป็นธุรกิจยังให้กระทำต่อไปได้ ดังนั้น มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงบัญญัติห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน 4 ประการ เช่น ตามมาตรา 6 (3) อีกทั้งมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้บัญญัติเอาความผิดแก่นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่ฝ่าฝืนมาตรา 6 แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าประสงค์จะเอาความผิดเฉพาะผู้เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น ดังนั้น นิติกรรมการเล่นแชร์ของนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้นที่ตกเป็นโมฆะ แต่นิติกรรมการเล่นแชร์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาชิกวงแชร์ไม่ตกเป็นโมฆะไปด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 สิทธิหรือหน้าที่ของสมาชิกวงแชร์มีความผูกพันตามกฎหมายอยู่อย่างไรความผูกพันย่อมมีอยู่เช่นนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ประมูลแชร์ได้และสั่งจ่ายเช็คเงินค่าแชร์มอบให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อนำไปมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูล เพื่อให้โจทก์นำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ระงับการจ่ายเงิน ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องรับผิดชำระเงินค่าแชร์แก่โจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการตกลงกันระหว่างผู้เล่น สามารถบังคับกันได้ตามกฎหมาย แต่อายุความเกี่ยวกับการฟ้องเรียกเงินค่าแชร์ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อวงแชร์ล้มในวันที่ 20 กรกฎาคม 2540 จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินในวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 และเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในวันเดียวกัน โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้นับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป เมื่อนับถึงวันที่ 31 มีนาคม2546 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประชาชนและเพื่อมิให้มีการประกอบธุรกิจการเล่นแชร์ที่กระทบต่อการระดมเงินออมของสถาบันการเงินที่ทางราชการสนับสนุนและรับผิดชอบซึ่งส่งผลกระทบไปถึงระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวม แต่การเล่นแชร์ของประชาชนโดยทั่วไปที่มิได้ดำเนินการเป็นธุรกิจยังให้กระทำต่อไปได้ ดังนั้น มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงบัญญัติห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน 4 ประการ เช่น ตามมาตรา 6 (3) อีกทั้งมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้บัญญัติเอาความผิดแก่นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่ฝ่าฝืนมาตรา 6 แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าประสงค์จะเอาความผิดเฉพาะผู้เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น ดังนั้น นิติกรรมการเล่นแชร์ของนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้นที่ตกเป็นโมฆะ แต่นิติกรรมการเล่นแชร์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาชิกวงแชร์ไม่ตกเป็นโมฆะไปด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 สิทธิหรือหน้าที่ของสมาชิกวงแชร์มีความผูกพันตามกฎหมายอยู่อย่างไรความผูกพันย่อมมีอยู่เช่นนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ประมูลแชร์ได้และสั่งจ่ายเช็คเงินค่าแชร์มอบให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อนำไปมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูล เพื่อให้โจทก์นำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ระงับการจ่ายเงิน ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องรับผิดชำระเงินค่าแชร์แก่โจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการตกลงกันระหว่างผู้เล่น สามารถบังคับกันได้ตามกฎหมาย แต่อายุความเกี่ยวกับการฟ้องเรียกเงินค่าแชร์ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อวงแชร์ล้มในวันที่ 20 กรกฎาคม 2540 จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินในวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 และเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในวันเดียวกัน โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้นับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป เมื่อนับถึงวันที่ 31 มีนาคม2546 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
- เรื่อง อายุความฟ้องคดีแชร์
ทนายเตือนภัย: การเล่นแชร์ถูกกฎหมายครับ จะผิดกฎหมายอาญา ฐานโฉ้โกงก็ต่อเมื่อหลอกว่ามีการเล่นแชร์ เก็บเงินไปแล้วหายดข้ากลีบเมฆไปเลย อันนี้เป็นความผิดทางอาญาแน่ แต่ถ้ามีคนเบี้ยว วงแชร์ล้ม ฟ้องได้ภายใน 10 ปีครับ
พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประชาชนและเพื่อมิให้มีการประกอบธุรกิจการเล่นแชร์ที่กระทบต่อการระดมเงินออมของสถาบันการเงินที่ทางราชการสนับสนุนและรับผิดชอบซึ่งส่งผลกระทบไปถึงระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวม แต่การเล่นแชร์ของประชาชนโดยทั่วไปที่มิได้ดำเนินการเป็นธุรกิจยังให้กระทำต่อไปได้ ดังนั้น มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงบัญญัติห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน 4 ประการ เช่น ตามมาตรา 6 (3) อีกทั้งมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้บัญญัติเอาความผิดแก่นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่ฝ่าฝืนมาตรา 6 แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าประสงค์จะเอาความผิดเฉพาะผู้เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น ดังนั้น นิติกรรมการเล่นแชร์ของนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้นที่ตกเป็นโมฆะ แต่นิติกรรมการเล่นแชร์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาชิกวงแชร์ไม่ตกเป็นโมฆะไปด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 สิท
คำพิพากษาฎีกาที่คุณควรรู้ (3)
- เรื่อง เพิกถอนนิติกรรมการขายฝาก
- เรื่อง คำ้ประกันตกทอดถึงลูกหลาน
- เรื่อง ฟ้องแพทย์และโรงพยาบาล
- เรื่อง การเช่าอสังหาริมทรัพย์
- เรื่อง ทางภาระจำยอม ภาระจำยอม
- เรื่อง อะไรคือทรัพย์ อะไรคือมรดก
- เรื่อง มรดก
- เรื่อง หุ้นส่วน บริษัท
- เรื่อง เพิกถอนนิติกรรมการขายฝาก
โจทก์และจำเลยมีเจตนาจะผูกพันในเรื่องการกู้ยืมเงินระหว่าง อ. กับจำเลยโดยมีโจทก์เป็นผู้ค้ำประกัน และให้โฉนดที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้ หาได้มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามสัญญาขายฝากไม่ แม้การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งในการทำนิติกรรมอำพรางตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสองนั้น คู่กรณีจะต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรมคือ นิติกรรมหนึ่งแสดงให้ปรากฏออกมาโดยเปิดเผย คู่กรณีไม่ประสงค์จะให้มีผลบังคับอย่างใดตามกฎหมาย ส่วนอีกนิติกรรมหนึ่งเป็นนิติกรรมที่ไม่เปิดเผยเรียกว่านิติกรรมที่ถูกอำพรางปกปิดไว้โดยคู่กรณีประสงค์จะให้นิติกรรมที่ถูกอำพรางปกปิดไว้นั้นใช้บังคับระหว่างกันเองได้ แม้คู่กรณีในเรื่องนิติกรรมอำพรางจะต้องมีเพียงคู่เดียวก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์เป็นสามีของ อ. ผู้กู้ ทั้งยังเป็นผู้ค้ำประกันในสัญญากู้เงิน โดยโจทก์มีความประสงค์ต้องการใช้เงิน แสดงว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในเงินกู้ดังกล่าวด้วย การที่โจทก์และ อ. ทำนิติกรรมดังกล่าวจึงมีผลประโยชน์ร่วมกัน และถือได้ว่าเป็นฝ่ายเดียวกัน ดังนี้ แม้คู่กรณีในนิติกรรมขายฝากจะเป็นนิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลย ส่วนนิติกรรมการกู้ยืมเป็นนิติกรรมระหว่าง อ. กับจำเลย ก็ถือได้ว่าคู่กรณีในนิติกรรมทั้งสองนิติกรรมนั้นเป็นคู่กรณีเดียวกัน ฟังได้ว่านิติกรรมขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืม จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ต้องบังคับตามสัญญากู้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง โดยจำเลยยังมีสิทธิยึดโฉนดที่ดินพิพาทเป็นประกันได้
เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่ามีการชำระหนี้ตามสัญญากู้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากกับขอให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินพิพาทได้ และเมื่อการขายฝากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างตกเป็นโมฆะดังกล่าว ศาลฎีกาก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนเสีย
- เรื่อง คำ้ประกันตกทอดถึงลูกหลาน
ค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันหาได้มีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อเจ้าหนี้โดยอาศัยความสามารถหรือคุณสมบัติบางอย่างซึ่งต้องกระทำเป็นการเฉพาะตัวไม่ ผู้ค้ำประกันมีความผูกพันต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นความผูกพันในทางทรัพย์สินเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อ พ. ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหนี้อันสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคหนึ่ง แม้ขณะที่ พ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ผู้กู้ยังไม่ผิดสัญญาหรือผิดนัดก็ตาม สัญญาค้ำประกันก็หาได้ระงับไปเพราะความตายของ พ. ไม่ สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาค้ำประกันที่ พ. ทำกับโจทก์จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1600
- เรื่อง ฟ้องแพทย์และโรงพยาบาล
ทนายเตือนภัย: อย่าคิดเพียงว่าเป็นเวรเป็นกรรมของเราเอง ต้องดูก่อนว่าการปฎิบัติหน้าที่ของแพทย์ พยาบาลหรือสถานประกอบการนั้น ทำหน้าที่ได้ถูกต้องหรือไม่ เพื่อสร้างมาตราฐานของแต่ละวิชาชีพครับ
จำเลยที่ 3 มิได้ตรวจดูอาการของโจทก์ตั้งแต่แรกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพนมสารคามด้วยตนเอง แต่วินิจฉัยโรคและสั่งการรักษาอาการของโจทก์ตามที่ได้รับรายงานทางโทรศัพท์จากพยาบาลแทนโดยไม่ได้ตรวจสอบประวัติการรักษาของโจทก์ด้วยตนเอง แม้จำเลยที่ 3 จะสอบถามจากพยาบาลก่อนที่พยาบาลจะฉีดยาให้แก่โจทก์เพื่อทำการรักษาก็ตาม ก็มิใช่วิสัยของบุคคลผู้มีวิชาชีพเป็นแพทย์จะพึงกระทำไม่ ทั้งห้องแพทย์เวรกับห้องฉุกเฉินที่โจทก์อยู่ห่างกันเพียง 20 เมตร ไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอันทำให้จำเลยที่ 3 ไม่สามารถมาตรวจวินิจฉัยอาการของโจทก์ได้ด้วยตนเองแต่อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อ เมื่อพยาบาลฉีดยาบริคานิลให้แก่โจทก์ตามที่จำเลยที่3 สั่งการ หลังจากนั้นโจทก์มีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีอาการเช่นว่านั้นมาก่อน อาการแพ้ยาดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
ความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 3 ทำการรักษา หากการรักษานั้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรแห่งวิชาชีพแพทย์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายโจทก์ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 อันเป็นการกระทำละเมิด จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 อันเป็นหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ได้
ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย ค่าเสียสมรรถภาพในการมองเห็นและค่าสูญเสียความสวยงาม ถือเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน ซึ่งโจทก์จึงมีสิทธิเรียกได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ประกอบอาชีพด้วยหรือไม่
- เรื่อง การเช่าอสังหาริมทรัพย์
ทนายเตือนภัย: การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้าจะให้กฎหมายคุ้มครองก็ต้องทำตามที่กฎหมายกำหนด คือ ต้องจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน ถ้าคุณไม่ทำตามกฎหมาย กฎหมายก็จะไม่คุ้มครองคุณ ตามฎีกานี้ครับ
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทรวม 2 แปลง จากจำเลยมีกำหนด 30 ปีสัญญาเช่าทำเป็นหนังสือกันเองรวม 10 ฉบับ มีกำหนดเวลาเช่าฉบับละ3 ปีติดต่อกัน โดยมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะไปจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ ภายหลังที่จำเลยจัดสรรที่ดินให้เช่าหมดแล้ว ดังนี้ การเช่าที่ดินตามฟ้องมีระยะเวลาเช่าเกินกว่า 3 ปี เมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนการเช่าที่ดินมีกำหนดเวลา 30 ปีไม่ได้
- เรื่อง ทางภาระจำยอม ภาระจำยอม
ที่ดินเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมมนุษย์ของเรา เมื่อมีการเปิดทางให้ใช้เป็นทางเข้าออกเกินกว่า 10 ปีที่ดินแปลงนั้นก็ตกอยู่ในภาระจำยอมที่ให้สิทธิกับผู้ใช้ทางนั้นตามกฎหมาย การโอนที่ดินแปลงที่มีภาระจำยอมให้กับบุคคลอื่น ภาระจำยอมนั้นสิ้นสุดไปด้วยหรือไม่ ศาลมีหลักการพิจารณาไว้ตามฎีกานี้ครับ
ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397,1399 และในลักษณะซื้อขายตาม มาตรา 480 ก็ยังบัญญัติว่า"ถ้าอสังหาริมทรัพย์ต้องแสดงว่าตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอมโดยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่าทรัพย์นั้นปลอดจากภาระจำยอมอย่างใดๆ ทั้งสิ้นหรือปลอดจากภาระจำยอมอันนั้น"
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียนผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วยแต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่7/2502)
- เรื่อง อะไรคือทรัพย์ อะไรคือมรดก
ทรัพย์สิน เงิน ทอง เป็นของนอกกายก็จริง ในระหว่างที่เรามีชีวิตอยู่ เราเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น เราก็มีสิทธิที่จะใช้หรือจำหน่าย จ่าย โอน ให้กับใครๆก็ได้ แต่ถ้าก่อนตาย ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์นั้นก็ตกเป็นของผู้รับพินัยกรรมครับ แต่ถ้าไม่ทำพินัยกรรม เมื่อตายไปแล้ว ทรัพย์ถึงจะตกเป็นของทายาท ศาลได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สิน สัญญา ข้อตกลงกันไว้ดังนี้ครับ
ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน โดยเป็นทรัพย์มรดกของ ช. กึ่งหนึ่ง และเป็นทรัพย์มรดกของฉ. กึ่งหนึ่ง
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
- เรื่อง หุ้นส่วน บริษัท
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสาม จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น เมื่อจำเลยยังไม่ได้จดแจ้งการรับโอนหุ้นของโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น จึงไม่ถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิที่จะเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1176 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมดังกล่าว การประชุมวิสามัญเป็นการประชุมใหญ่ครั้งอื่นนอกจากการประชุมสามัญที่กฎหมายกำหนดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกระยะเวลาสิบสองเดือน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1171 ซึ่งการประชุมวิสามัญโดยปกติจะเป็นเรื่องรีบด่วนสำคัญที่ต้องให้ที่ประชุมใหญ่วินิจฉัย ไม่อาจรอจนกว่าจะมีการประชุมสามัญได้และผู้ถือหุ้นอาจต้องออกเสียงลงมติดังเช่นในกรณีเพิ่มทุนและลดทุนของจำเลยนี้ หากไม่มีการพักการโอนหุ้นก็อาจมีปัญหาในการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าประชุมและผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ที่ประชุมกรรมการจำเลยจึงมีมติให้ปิดสมุดพักการโอนหุ้นได้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด
รู้กฎหมายไม่เสียเปรียบ (1) เกี่ยวกับกฎหมายมรดก
- กฎหมายเกี่ยวกับมรดก
- มรดกคืออะไร มรดกเล็กใหญ่ ใครมีสิทธิก่อน
- รู้จักผู้สืบสันดาน
- ทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดก
- หากเจ้ามรดกมีคู่สมรสแล้วถึงแก่ความตายการแบ่งมรดกทำอย่างไร
- บุตรนอกกฎหมาย บุตรบุญธรรม มีสิทธิรับมรดกหรือไม่
- การเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่
- ลำดับทายาทโดยชอบธรรมที่จะมีสิทธิรับมรดก
- ทายาทของกองมรดกที่มีสิทธิได้รับมรดกนั้นอย่างไร
- มรดกเป็นปืน ให้ระวัง
- มรดกของพระต้องทำอย่างไร ทายาทต้องทำอย่างไร
- เหตุเพราะไม่ทำพินัยกรรม ทายาทถึงมีปัญหา
- เป็นพระสงฆ์มีสิทธิได้รับมรดกหรือไม่
- ทรัพย์สินของพระที่ได้มาระหว่างบวช มรณภาพแล้ว ทรัพย์นั้นไปใหน
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากเพจรู้หมดกฎหมาย
ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
1. มรดกคืออะไร
คำว่า มรดก หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนตาย รวมถึงสิทธิและหน้าที่ความรับผิดต่างๆ เว้นแต่โดยสภาพตามกฎหมายเป็นเฉพาะตัวตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 และทรัพย์สินรวมทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดที่เป็นมรดกจะตกทอดแก่ทายาทเมื่อบุคคลผู้นั้นถึงแก่ความตาย ตามบทบัญญัติของมาตรา 1599 การตกทอดมรดกในทรัพย์สินนั้นตกทอดทันทีที่เจ้ามรดกเสียชีวิต ซึ่งเป็นผลของกฎหมาย อย่างไรก็ดี แม้ว่าทรัพย์มรดกเกี่ยวกับหนี้สินของผู้ตายจะมีมากเท่าใด ความรับผิดชอบในหนี้สินแม้จะตกแก่ทายาท แต่ทายาทที่รับมรดกก็ไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้นั้นเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตนได้รับ เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1601 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาทนาย https://www.ทนายใกล้คุณ.com
*****************************
2. มรดกเล็กใหญ่ ใครมีสิทธิก่อน
ปัญหาเรื่องมรดกกลายเป็นต้นเหตุให้ผู้คนเกิดการแก่งแย่งกันมามากมายแล้ว หากเจ้าของมรดกทำพินัยกรรมเอาไว้เรียบร้อยก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่ได้ทำไว้ ลูกหลานจะทำอย่างไรกันดี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 มาตรา 1630 และ มาตรา 1631 กำหนดให้ทายาทที่จะได้รับมีมรดกเพียง 6 ลำดับ คือ 1. ผู้สืบสันดาน (ลูกเจ้าของมรดก) 2. บิดามารดา 3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4. พี่น้อง ร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน 5. ปู่ ย่า ตา ยาย และ 6. ลุง ป้า น้า อา โดยส่วนใหญ่ทายาทชั้นที่ชิดสนิทที่สุดของเจ้ามรดกเท่านั้นคือ 1. ผู้สืบสันดาน (ลูกเจ้าของมรดก) 2. บิดามารดาจะได้รับมรดกก่อน และกฎหมายยกเว้นให้ทั้งสองลำดับดังกล่าวอยู่ในลำดับเดียวกัน หากทายาท 2 ลำดับแรก คือ ผู้สืบสันดานและบิดามารดาไม่มีชีวิตอยู่ทั้งหมด ทายาทลำดับ 3 ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของเจ้ามรดกอยู่ก็จะได้รับทรัพย์สินไป โดยทายาทที่อยู่ในลำดับที่ 4 ถึง 6 ก็จะไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกได้ รู้ลำดับชั้นของกฎหมายกันแล้ว ญาติพี่น้องจะได้ไม่ต้องมานั่งทะเลาะ แย่งสมบัติกันให้เจ้าของมรดกนอนตายตาไม่หลับ
ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาทนาย https://www.ทนายใกล้คุณ.com
*****************************
3. รู้จักผู้สืบสันดาน
เวลาที่เราอ่านหนังสือกฎหมายเรื่องเกี่ยวกับมรดกมักจะพบคำว่า “ผู้สืบสันดาน” ทำให้เกิดความสงสัยว่าหมายถึงใคร ทั้งนี้ตามกฎหมายระบุไว้ว่า ผู้สืบสันดาน หมายถึง ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมา ได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื่อ ลื่อก็คือ คนที่สืบต่อจากเหลนลงมา เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (1) นอกจากนี้ในกลุ่มของผู้สืบสันดานยังสามารถแบ่งประเภทของบุตรที่จะมีสิทธิได้รับมรดกในลำดับชั้นเดียวกัน โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 ประกอบด้วย 1. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรที่เกิดจากบิดาที่จดทะเบียนสมรส 2. บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองหรือบุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่อยู่กินกัน ฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่ต่อมาบิดาได้รับรอง เช่น การแจ้งเกิด การให้ใช้นามสกุล การส่งเสียเลี้ยงดู หรือการแสดงเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปว่าเป็น บุตรของตน 3. บุตรบุญธรรมหรือการรับลูกคนอื่นมาเลี้ยงเสมือนเป็นลูกของตัวเอง โดยต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย เข้าใจภาษามรดกแล้ว คราวนี้การศึกษาหรือการแบ่งทรัพย์สินก็ทำได้ไม่ยากอีกต่อไป
ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาทนาย https://www.ทนายใกล้คุณ.com
*****************************
4. ทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดก
การที่ทายาทโดยธรรมจะมีสิทธิได้รับมรดกนั้น เจ้ามรดกจะต้องไม่ทำพินัยกรรมยกให้บุคคลอื่นไว้ เพราะหากทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์มรดกนั้นจะต้องตกเป็นของผู้รับพินัยกรรมแต่เพียงผู้เดียว ทายาทโดยธรรมจะได้รับมรดกก็ต่อเมื่อทรัพย์มรดกนั้นไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ลำดับที่ 1 ถึง 6 จึงจะมีสิทธิได้รับมรดกและต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติการจัดแบ่งทรัพย์มรดกด้วย
ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาทนาย https://www.ทนายใกล้คุณ.com
*****************************
5. หากเจ้ามรดกมีคู่สมรสแล้วถึงแก่ความตายการแบ่งมรดกทำอย่างไร
การที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายขณะที่มีคู่สมรส หากทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรส จะต้องจัดแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเสียก่อน โดยถือว่า หนึ่งส่วนเป็นของคู่สมรสแต่ผู้เดียว และอีกส่วนหนึ่ง เป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาท ซึ่งจะต้องนำมาจัดแบ่งตามลำดับของประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 1629
ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาทนาย https://www.ทนายใกล้คุณ.com
*****************************
6. บุตรนอกกฎหมาย บุตรบุญธรรม มีสิทธิรับมรดกหรือไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ได้บัญญัติไว้ว่าบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วและบุตรบุญธรรม ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การเป็นบุตรที่เกิดจากชายที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับหญิง จะมีสิทธิได้รับมรดกของชายได้ ก็ต่อเมื่อผู้เป็นบิดาได้รับรองว่าเป็นบุตร ซึ่งการรับรองบุตรดังกล่าว อาทิ การส่งเสียเลี้ยงดู ให้ใช้นามสกุล เมื่อแรกคลอดระบุว่าเป็นบิดา โดยที่มีบุคคลทั่วไปรับรู้ เหตุดังกล่าวถือว่า บิดาได้รับรองแล้ว บุตรผู้นั้นจึงมีสิทธิได้รับมรดกเสมือนเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (1) เช่นเดียวกับบุตรบุญธรรมซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกจากผู้รับบุตรบุญธรรม โดยกฎหมายให้ถือว่า เป็นผู้สืบสันดานที่มีสิทธิได้รับมรดก เสมือนกับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาทนาย https://www.ทนายใกล้คุณ.com
*****************************
7. การเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่
การที่บุคคลใดจะมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาท บุคคลนั้นจะต้องมีสภาพเป็นบุคคลตามกฎหมายด้วย ซึ่งสภาพบุคคลย่อมเริ่มต้นตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดาและอยู่รอดเป็นทารก และทารกในครรภ์มารดา ก็สามารถมีสิทธิต่างๆ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดมาเป็นทารก ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1604 ประกอบมาตรา 15 ดังนั้น ทายาทจะมีสิทธิรับมรดกต้องมีสภาพบุคคลตามบทบัญญัติดังกล่าวอย่างไรก็ดี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1604 วรรคสองได้กำหนดไว้ว่า การที่ชายและหญิงจดทะเบียนสมรสกัน และหญิงตั้งครรภ์ก่อนที่จะคลอดบุตร ต่อมาชายเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปก่อนหากหญิงคลอดบุตรภายในสามร้อยสิบวันนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายให้ถือว่าทารกที่เกิดมาเป็นทายาทของชายผู้นั้นและมีสิทธิได้รับมรดกด้วย
ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาทนาย https://www.ทนายใกล้คุณ.com
*****************************
8. ลำดับทายาทที่จะมีสิทธิได้รับมรดกก่อนและหลัง
ทายาทโดยธรรมจะมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหรือหลัง เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ดังนี้ 1. ผู้สืบสันดาน เช่น ลูก หลาน เหลน ลื้อ 2. บิดามารดา 3. พี่น้องร่วมบิดามารดา 4. พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา 5. ปู่ย่า ตายาย 6. ลุงป้า น้าอา ทั้งนี้กฎหมายกำหนดให้ทายาทโดยธรรมที่มีลำดับต้นๆ มีสิทธิได้รับมรดกก่อนลำดับหลังทายาทที่มีลำดับถัดมาจะไม่มีสิทธิได้รับมรดกเลย ถ้ายังมีทายาทโดยธรรมลำดับก่อนตนเป็นไปตามมาตรา 1630 วรรคแรก อย่างไรก็ดี กฎหมายมีข้อยกเว้นไว้ว่า กรณีที่คู่สมรสและบิดามารดาที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้มีสิทธิได้รับมรดกเท่ากับทายาทชั้นบุตรหรือผู้สืบสันดาน ตามบทบัญญัติมาตรา 1635 (1) และมาตรา 1630 วรรคที่สอง นอกจากนี้ตามบทบัญญัติมาตรา 1631 กำหนดไว้ว่า ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกัน บุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในลำดับชั้นสนิทเท่านั้นมีสิทธิได้รับมรดก ผู้สืบสันดานชั้นถัดไปจะรับมรดกก็ได้แต่ต้องอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่ กรณีดังกล่าวหมายถึงผู้สืบสันดานซึ่งเป็นทายาทเจ้ามรดกลำดับที่ 1 เช่น เจ้ามรดกมีลูกและหลาน ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานเช่นกัน ผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกก่อนคือ ลูกของเจ้ามรดกซึ่งถือเป็นชั้นสนิทที่สุด สำหรับหลานจะได้มรดกนั้นต้องเป็นการรับมรดกแทนที่เท่านั้น
ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาทนาย https://www.ทนายใกล้คุณ.com
*****************************
9. ทายาทของกองมรดกที่มีสิทธิได้รับมรดกนั้นอย่างไร
ทายาทที่มีสิทธิ์ได้รับมรดกมี 2 ประเภท คือ 1. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า ทายาทโดยธรรม และ 2. ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1603 ทายาทโดยธรรมนั้น กฎหมายได้ลำดับทายาทไว้ก่อนหลังตามบทบัญญัติ มาตรา 1629 ซึ่งได้แก่ 1. ผู้สืบสันดาน 2. บิดามารดา 3. พี่น้องร่วมบิดามารดา 4. พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา 5. ปู่ย่า ตายาย 6. ลุงป้า น้าอา นอกจากนี้ คู่สมรสก็ถือเป็นทายาทโดยธรรม ตามบทบัญญัติมาตรา 1635 ซึ่งมีสิทธิเทียบเท่าทายาทลำดับที่ 1 คือ ผู้สืบสันดานหรือเทียบเท่าชั้นบุตรนั่นเอง
ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาทนาย https://www.ทนายใกล้คุณ.com
*****************************
10. มรดกเป็นปืน ให้ระวัง
การได้รับมรดกจากพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ ที่ดิน เงินทอง ฯลฯ สินทรัพย์เหล่านี้ผู้เป็นลูกหลานย่อมยินดีจะรับไว้และเต็มใจที่จะดำเนินการเพื่อ ครอบครอง แต่ถ้าหากมรดกนั้นเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมาย เช่น พวกอาวุธปืน ควรจะต้องทำอย่างไร แม้ว่าผู้รับจะอยากได้หรือไม่ก็ตาม แต่ผู้รับมรดกมีหน้าที่ที่จะต้องไปดำเนินการ ตามกฎหมาย คือแจ้งต่อนายทะเบียนภายในท้องที่ภายใน 30 วันว่าผู้ครอบครอง เดิมนั้นเสียชีวิตแล้ว และขอใบอนุญาตใหม่สำหรับตนเองเพื่อครอบครองอาวุธปืน เป็นไปตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 64 วรรคแรก หากไม่ทำหรือละเลย ปล่อยทิ้งเอาไว้ ก็อาจกลายเป็นการครอบครองอาวุธปืน โดยไม่ได้รับอนุญาต อาจมีความผิดตามมาตรา 83 ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาทนาย https://www.ทนายใกล้คุณ.com
*****************************
11. มรดกของพระต้องทำอย่างไร ทายาทถึงจะได้
หากในระหว่างบวชเป็นพระสงฆ์มีญาติโยมมอบเงินทอง ที่ดิน รถยนต์ให้ใช้ และปรากฎว่าต่อมาภิกษุรูปนั้นเกิดมรณภาพ ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1623 กำหนดว่า ทรัพย์สมบัติดังกล่าวต้องตกเป็นของวัด ที่จำพรรษาอยู่ ดังนั้น ทายาทจะมาร้องขอส่วนแบ่งจากวัดไม่ได้ ยกเว้นแต่ ระหว่างท่านยังมีชีวิตอยู่ได้มอบทรัพย์สินเงินทองให้ใคร หรือทำพินัยกรรมเอาไว้ให้บุคคลอื่นได้ เพราะทรัพย์ดังกล่าวเป็นของท่านที่จะมอบให้ใครก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น พระมนัสได้ทำพินัยกรรมมอบรถยนต์ให้แก่น้องชายตัวเองเอาไว้ ต่อมาเมื่อพระมนัสมรณภาพ รถยนต์คันดังกล่าวก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของน้องชาย โดยที่วัดไม่มีสิทธิ์ยึดครองเอาไว้ ส่วนทรัพย์สินอื่นๆ ที่มิได้ทำพินัยกรรมไว้ย่อมตกเป็นของวัด โดยที่ญาติของพระมนัสจะมาเรียกร้องไม่ได้เช่นกัน
ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาทนาย https://www.ทนายใกล้คุณ.com
*****************************
12. เหตุเพราะไม่ทำพินัยกรรม ทายาทถึงมีปัญหา
เมื่อมีทั้งคู่สมรสและเครือญาติ เรื่องของมรดกนั้น หากเจ้ามรดกทำพินัยกรรมเรียบร้อยย่อมไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่ได้ทำไว้นี่เองย่อมกลายเป็นเรื่องยุ่งยากตามมา กรณีที่ผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกมีสามีหรือภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันถูกต้อง ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์สินครึ่งหนึ่งจากมรดกส่วนที่เป็นสินสมรสก่อน ตามประมวล กฏหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1625 ส่วนสินสมรสที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง ก็จะตกเป็นมรดกของทายาท ดังนั้น คู่สมรสจึงมีสิทธิได้รับมรดกอีกครั้งหนึ่งในฐานะทายาทร่วมกับ (ลูกเจ้ามรดก) และบิดามารดาของผู้ตายที่ยังมีชีวิตอยู่ตามประมวล กฏหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1629, 1635 (1) ตัวอย่างเช่น นายเอและนางบี เป็นสามีภรรยาตามกฎหมาย และมีทรัพย์สินรวมกัน 1,000,000 บาท มีบุตรด้วยกัน 1 คน และมีบิดา และมารดาของนายเอที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย ต่อมานายเอเสียชีวิต เบื้องต้นทรัพย์สิน จำนวน 1,000,000 บาท นางบีจะได้รับเงินจำนวน 500,000 บาท ไปก่อน ซึ่งถือเป็นเงินสินสมรส ส่วนที่เหลืออีก 500,000 ก็ตกเป็น มรดกของทายาทตามลำดับของนายเอ ที่ประกอบด้วยบุตร บิดามารดา ที่ยังมีชีวิต และนางบีภรรยาอีกด้วย โดยจะได้ส่วนแบ่งในอัตราสัดส่วน เท่าๆ กัน คือคนละ 125,000 บาท ขณะที่นางบีภรรยาจะได้เงินรวมทั้งสิ้น 625,000 บาท
ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาทนาย https://www.ทนายใกล้คุณ.com
*****************************
13. เป็นพระสงฆ์มีสิทธิได้รับมาดกหรือไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1622 ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของพระภิกษุในการรับมรดก ดังนี้ พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณะเพศ และมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 และวรรคสองของมาตรา 1622 ได้บัญญัติไว้ว่า พระภิกษุนั้น อาจเป็นผู้รับพินัยกรรมได้ดังนั้น กรณีมีบุคคลที่บวชเป็นพระ หากต้องการเรียกร้องทรัพย์สินมรดกในฐานะที่ตนเป็นทายาทโดยธรรมจะต้องสึกจากการเป็นพระเสียก่อนแล้วมาเรียกร้องทรัพย์มรดกได้ อย่างไรก็ดี การที่มาเรียกร้องทรัพย์มรดกจะต้องเรียกร้องภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามบทบัญญัติของมาตรา 1754 แต่สำหรับกรณีที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้พระภิกษุนั้น พระภิกษุไม่จำเป็นต้องสึกจากการเป็นพระเสียก่อนแต่อย่างใด ทั้งนี้สามารถรับมรดกในฐานะทายาท โดยพินัยกรรมได้ทันทีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาทนาย https://www.ทนายใกล้คุณ.com
*****************************
14. ทรัพย์สินของพระที่ได้มาระหว่างบวช มรณภาพแล้ว ทรัพย์นั้นไปใหน
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 ได้บัญญัติว่าทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาระหว่างที่อยู่ในสมณะเพศนั้น เมื่อพระภิกษุถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้นหรือที่อยู่ในขณะมรณภาพ แต่อย่างไรก็ตาม หากพระภิกษุในขณะมีชีวิตอยู่ได้ทำการจำหน่าย จ่ายโอนทรัพย์สินนั้นไปหรือยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่น ทรัพย์สินนั้นก็ไม่ตกแก่วัด อีกทั้งพระภิกษุก็มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ทรัพย์สินใดของพระภิกษุได้มาก่อนอุปสมบท ทรัพย์สินนั้นก็ไม่ตกเป็นของวัดแต่อย่างใด หากไม่ได้จำหน่ายจ่ายโอนให้ผู้ใด เมื่อพระภิกษุมรณภาพ ทรัพย์สินนั้นก็ตกเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมต่อไป ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1624
ปรึกษาทนาย 099 464 4445 ค้นหาทนาย https://www.ทนายใกล้คุณ.com
*****************************
รู้กฎหมายไม่เสียเปรียบ (2) เกี่ยวกับกฎหมายครอบครัว
1. อยากมีคู่ต้องดูอายุด้วย
2. การหมั้นคืออะไร
3. การหมั้นสามารถบังคับให้อีกฝ่ายจดทะเบียนสมรสได้หรือไม่
4. สินสอด
5. เงื่อนไขการสมรส
6. การสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายต้องทำอย่างไร
7. การจดทะเบียนสมรสซ้อนมีผลอย่างไร
8. ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา
9. สินสมรสคืออะไร
10. การแบ่งสินสมรส
11. สินส่วนตัวคืออะไร
12. หนี้ต้องรับ ทรัพย์ต้องแบ่ง
13. การมีบุตรที่พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนกัน
14. การรับบุตรบุญธรรม
15. สิทธิของบุตรบุญธรรม
16. การเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย
17. ชื่อสกุลนั้นสำคัญไฉน
18. ความผิดฐานทิ้งลูก
19. ความผิดฐานแท้งลูก
20. ความรุนแรงในครอบครัว
21. สามีภริยาทำร้ายร่างกายกัน
22. ความผิดต่อชีวิต
1. อยากมีคู่ต้องดูที่อายุด้วย
หนุ่มสาวหรือวัยรุ่นมักใจร้อนอยากจดทะเบียนสมรสกันเร็วๆ
แต่ในทางกฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขเอาไว้ว่า ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะต้องมีอายุครบ
17 ปีบริบูรณ์ จึงจะทำการสมรสกันได้
เว้นแต่มีเหตุอันสมควรก็ขอให้ศาลสั่งให้สามารถสมรสกันได้ ตัวอย่างเช่น
นายเอกับนางสาวบี ทั้งคู่อายุ 15 ปี
ทั้งสองรักกันมากและต้องการจดทะเบียนสมรสกันแต่ไม่สามารถทำได้เพราะกฎหมายไม่อนุญาต
ในทางกลับกัน สมมุติว่านายเอกับนางสาวบีเกิดได้เสียกันและนางสาวบีได้ตั้งท้อง
บิดาและมารดาของทั้งสองฝ่ายจึงต้องไปร้องขออนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสกันได้
เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
2. การหมั้นคืออะไร
การหมั้น ในความเข้าใจของประชาชนทั่วไป
หมายถึง การจองตัวไว้ก่อนที่จะมีการแต่งงานกัน หรือสมรสกันตามกฎหมาย
แต่กฎหมายบัญญัติให้การหมั้นจะมีผลตามกฎหมายได้ การหมั้นนั้นจะกระทำได้เมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี
บริบูรณ์ขึ้นไปเท่านั้น
หากการหมั้นฝ่าฝืนโดยที่ชายหญิงที่หมั้นกันมีอายุไม่ถึงสิบเจ็ดปี
การหมั้นนั้นตกเป็นโมฆะ และการหมั้นนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองด้วย
ซึ่งอาจเป็นพ่อ แม่ หรือผู้มีอำนาจปกครองขณะนั้น ส่วนของหมั้นจะต้องมีการส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้หญิงคู่หมั้นขณะที่ทำการหมั้นด้วย
โดยฝ่ายชายเป็นผู้ส่งมอบของหมั้นเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น
หากส่งมอบให้ภายหลังการหมั้นไม่ถือว่าเป็นของหมั้น
ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 มาตรา 1436
และมาตรา 1437 และเมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นของหญิงทันที
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
3. การหมั้นสามารถบังคับให้อีกฝ่ายจดทะเบียนสมรสได้หรือไม่
กรณีเมื่อมีการหมั้นแล้ว
หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมสมรส อีกฝ่ายหนึ่งจะเรียกร้องให้ทำการสมรสด้วยไม่ได้
เพราะเหตุว่า การสมรสนั้นต้องเป็นการยินยอมที่จะอยู่กินฉันท์สามีภรรยากันด้วยความเต็มใจ
ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 ที่บัญญัติว่า
การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ แต่อย่างใดก็ดี
ฝ่ายที่ผิดสัญญาไม่ทำการสมรส อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน
รวมทั้งหากฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
4. สินสอด
สินสอด หมายถึง ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่พ่อ
แม่ หรือผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 ดังนั้น
สินสอดเป็นทรัพย์สิน เช่น เงิน ทองคำ
หรืออาจเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นที่ฝ่ายชายให้แก่พ่อ แม่
หรือผู้ปกครองหรืออาจเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมของฝ่ายหญิง
เป็นการตอบแทนที่ให้หญิงนั้นยอมสมรสกับตนเอง แต่เมื่อทำการหมั้นแล้ว
หากฝ่ายหญิงไม่ทำการสมรสกับฝ่ายชายโดยผิดสัญญาหรือมีเหตุการณ์หรือพฤติการณ์บางอย่างที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิด
ทำให้ฝ่ายชายไม่ควรสมรสกับฝ่ายหญิง ฝ่ายชายสามารถเรียกสินสอดคืนได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคสอง และวรรคสามบัญญัติเอาไว้
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
5. เงื่อนไขการสมรส
การสมรส กฎหมายกำหนดเงื่อนไขไว้หลายประการ
เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 บัญญัติไว้ว่า
การสมรสจะทำได้เมื่อชายและหญิงนั้นมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว
แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสได้ ดังนั้น
การสมรสจะกระทำได้เมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีทั้งสองฝ่าย แต่อย่างไรก็ดี
หากมีเหตุที่จำเป็นอันสมควร ดังเช่น
ชายและหญิงมีความสัมพันธ์กันก่อนมีอายุสิบเจ็ดปี หากหญิงเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา
กรณีนี้อาจร้องต่อศาลขอทำการสมรสได้ ถือว่ามีเหตุอันสมควรตามกฎหมาย
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
6. การสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายทำอย่างไร
การสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายก็คือ
การที่ทั้งชายและหญิงต้องไปจดทะเบียนสมรสกันกับนายทะเบียนและต้องไปเปิดเผยต่อนายทะเบียนด้วยว่าตนยินยอมที่จะเป็นสามีภรรยากัน
โดยที่นายทะเบียนต้องบันทึกการยินยอมไว้ด้วยหรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า จดทะเบียนสมรส
เมื่อกระทำครบถ้วนข้างต้นจึงจะถือว่า การจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
ถ้าหากมีการจัดงานแต่งงานเลี้ยงแขกอย่างยิ่งใหญ่แต่ไม่ไปจดทะเบียนสมรสกัน
ก็ไม่ถือว่าเป็นสามีภรรยาตามกฎหมายและไม่เกิดสิทธิใดๆ ต่อกัน
ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 และมาตรา 1458
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
7. การจดทะเบียนสมรสซ้อน
การสมรสซ้อนเป็นกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งมีคู่สมรสอยู่แล้ว
แต่ไปจดทะเบียนสมรสกับบุคคลอีกคนหนึ่งทั้งที่ตนเองมีคู่สมรสอยู่แล้ว
ถือว่าการสมรสครั้งหลังนี้ตกเป็นโมฆะ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
1452 บัญญัติไว้ว่า ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้ และมาตรา
1495 บัญญัติว่า การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะ อย่างไรก็ดี
การที่จะกระทำให้การสมรสครั้งหลังเป็นโมฆะโดยสมบูรณ์เพราะเหตุจดทะเบียนซ้อนนี้กฎหมายระบุให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือมีส่วนได้เสีย
เช่น สามีหรือภรรยาของผู้ที่คู่สมรสของตนไปจดทะเบียนสมรสกับบุคคลอื่น
ซึ่งได้รับความเสียหายโดยตรงกล่าวขึ้นอ้างต่อศาลและร้องต่อศาลว่าการสมรสเป็นโมฆะ
ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
8. ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1470 ได้บัญญัติไว้ว่า ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา
นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็นสินสมรส ดังนั้น เมื่อชายและหญิงสมรสกัน
ซึ่งถือเสมือนว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันในการดำรงชีวิต แต่อย่างไรก็ดี ทั้งสองฝ่ายอาจมีทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนมาก่อนที่จะสมรสกัน
กฎหมายจึงได้แบ่งแยกทรัพย์สินของสามีภรรยาออกเป็นสองประการ คือ
สินส่วนตัวและสินสมรส
โดยที่สินส่วนตัวนั้นเป็นสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายที่จะดูแลจัดการด้วยตนเอง
ส่วนสินสมรสนั้นทั้งสองฝ่ายต้องดูแลและจัดการร่วมกัน
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
9. สินสมรสคืออะไร
คำว่าสินสมรส ก็คือทรัพย์สินที่สามีภรรยามีส่วนร่วมกันในทรัพย์สินนั้น การจัดการทรัพย์สินก็ต้องจัดการร่วมกัน ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 บัญญัติไว้ว่า สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน 1. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส 2. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส โดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือที่ระบุว่าเป็นสินสมรส 3. ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว และมาตรา 1474 วรรคสอง ยังบัญญัติต่อไปอีกว่า กรณีที่สงสัยว่าทรัพย์สินเป็นสินสมรสหรือไม่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ดังนั้น ทรัพย์สินที่จะเป็นสินสมรส ต้องไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีมาก่อนสมรสนั้นเอง คือได้มาระหว่างสมรสอีกประการหนึ่ง กรณีหากฝ่ายหนึ่งมีทรัพย์สินส่วนตัว ต่อมามีดอกผลที่เกิดจากการใช้ทรัพย์เหล่านั้น เช่น ฝ่ายหญิงเลี้ยงสุนัขก่อนสมรส ต่อมาฝ่ายหญิงได้ทำการสมรสและสุนัขที่ได้เลี้ยงไว้นั้น ได้ให้กำเนิดลูกสุนัข ส่งผลให้ลูกสุนัขที่เกิดมาเป็นดอกผลที่เกิดขึ้นจากสินส่วนตัว แต่เนื่องจากเกิดขึ้นภายหลังการสมรส ดังนั้น ลูกสุนัขจึงกลายเป็นสินสมรสด้วย อีกกรณีหนึ่งที่เป็นสินสมรสก็คือคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ทรัพย์สินมาโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือที่ระบุไว้ให้เป็นสินสมรส กรณีทั้งสามประการจึงเป็นสินสมรส ซึ่งสามีและภรรยาจะต้องจัดการดูแลร่วมกันหรือต้องได้รับยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งจึงจะจัดการโดยลำพังได้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 วรรคแรก
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ได้แบ่งประเภทของสินสมรสไว้ 3 ประเภท ดังนี้ (1) ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส (2) ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส และ (3) ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
ชีวิตคู่เป็นเรื่องของบุคคล 2 คน
ที่ต้องแบ่งปันและใช้ชีวิตร่วมกัน
แต่หากวันใดไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้อีกต่อไปก็สามารถตกลงแยกทางกันได้
และสามารถแบ่งหรือโอนทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสให้แก่กันได้ รวมทั้งหากมีหนี้สินร่วมกันก็ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1489
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
10. การแบ่งสินสมรส
เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่า
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533
บัญญัติให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงเท่าๆ กัน และมาตรา 1535
ได้บัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดของหญิงชายภายหลังการสมรสสิ้นสุดลงไว้ว่า
ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ตามส่วนเท่ากันตามบทบัญญัติดังกล่าว
สรุปได้ว่าเมื่อการสมรสสิ้นสุดลงให้ชายและหญิงที่หย่ากันแบ่งสินสมรสกันคนละครึ่งในส่วนที่เท่ากัน
ส่วนความรับผิดเกี่ยวกับหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างเป็นสามีภรรยากันนั้นก็ต้องรับผิดในส่วนเท่าๆ
กันเช่นกัน
ยกเว้นหนี้ที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสร้างขึ้นเป็นหนี้ส่วนตัวโดยแท้ไม่เกี่ยวกับสินสมรส
ทั้งนี้ฝ่ายที่ก่อหนี้ต้องรับผิดเองเป็นการส่วนตัว
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
11. สินส่วนตัวคืออะไร
คำว่า สินส่วนตัว ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1471 ได้กำหนด สินส่วนตัวไว้ดังนี้ 1.
ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส 2. เครื่องใช้ส่วนตัว
เครื่องแต่งกายตามฐานะเครื่องมือประกอบวิชาชีพ 3.
ทรัพย์สินที่ฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยรับมรดกหรือการให้โดยเสน่หา 4. ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น
อย่างไรก็ดีหากสินส่วนตัว มีการนำไปแลกเปลี่ยนหรือขายหรือซื้อได้มา
ซึ่งทรัพย์สินอื่นที่ได้มาแทนนั้น ก็ยังเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นเช่นเดิม
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1472
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
12. หนี้ต้องรับ ทรัพย์ต้องแบ่ง
เมื่อคู่สมรสที่เคยรักกันต้องสิ้นสุดความสัมพันธ์กันแล้ว
นอกจากสินสมรสที่ต้องแบ่งให้เท่าๆ กันแล้ว
ในส่วนของหนี้สินที่เกิดมาร่วมกันระหว่างสมรสก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบไปในส่วนเท่าๆ
กันด้วย ตัวอย่างเช่น นายสมโชคได้จดทะเบียนหย่าร้างกับนางสมพร
โดยทั้งคู่มีเงินสดอยู่ 500,000 บาทที่เป็นสินสมรส
ขณะเดียวกันนายสมโชคก็มีหนี้อยู่ 100,000 บาทที่เกิดจากไปกู้ยืมเงิน
ซึ่งเป็นค่าใช่จ่ายในการเรียนของลูก
ต่อมาเมื่อทั้งคู่หย่าร้างกันจะต้องแบ่งสินสมรสกันคนละ 250,000 บาท
ขณะเดียวกันนางสมพรจะต้องช่วยรับผิดชอบหนี้จำนวนดังกล่าวที่นายสมโชคก่อขึ้นระหว่างสมรสจำนวนครึ่งหนึ่ง
หรือ 50,000 บาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 มาตรา 1535
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
13. ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
ความขัดแย้งเรื่องทรัพย์สินที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา
ไม่ว่าเกิดจากฝ่ายสามีกระทำกับภรรยา หรือเกิดจากฝ่ายภรรยากระทำกับสามี เช่น การขโมยเงิน
และของมีค่า หรือฉ้อโกงหลอกลวงเงิน แม้กฎหมายถือว่าเป็นความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ
เพราะกฎหมายมองว่าเป็นเหตุส่วนตัวที่สามารถยกโทษให้กันได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 71 ตัวอย่างเช่น สามีขโมยสร้อยคอทองคำซึ่งเป็นสินส่วนตัวของภรรยาไปขาย
แม้สามีจะมีความผิดฐานลักทรัพย์ แต่กฎหมายก็มีเหตุยกเว้นโทษ เนื่องจากเป็นเหตุ
ส่วนตัวที่สามารถยกโทษให้กันได้
เนื่องจากต้องการคุ้มครองความผาสุกของสามีภรรยาในระบบครอบครัวอันเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม
แม้กฎหมายจะไม่เอาผิด แต่เรื่องในลักษณะนี้ถ้าไม่เกิดขึ้นย่อมจะเป็นผลดีกับทุกฝ่ายมากกว่า
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
14. การมีบุตรที่พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
การที่ชายและหญิงอยู่กินฉันท์สามีกรรยา
แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสและมีบุตรเกิดขึ้นมา บุตรนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1546 บัญญัติหลักกฎหมายไว้ว่า เด็กที่เกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย
ให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ดังนั้นการที่หญิงและชายอยู่กินฉันท์สามีภรรยา
เมื่อมีบุตรขึ้นมากฎหมายให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น
แต่อย่างไรก็ดี เด็กที่เกิดขึ้นมานั้นจะเป็นบุตรโดยชอบของชายได้ก็ต่อเมื่อ ชายและหญิงนั้นสมรสกันในภายหลัง
หรือบิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
และในกรณีหลังนี้กฎหมายให้มีผลแก่บุตรย้อนไปถึงวันที่บุตรเกิด
โดยถือว่าชายนั้นเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรนับแต่วันที่เด็กเกิด
ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 และมาตรา 1557
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
15. การรับบุตรบุญธรรม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/19
และมาตรา 1598/20 ได้วางกฎเกณฑ์ตามกฎหมายการรับบุตรบุญธรรมไว้ว่า
บุคคลที่ต้องการรับบุคคลอื่นเป็นบุตรบุญธรรมนั้น ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี
และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อยสิบห้าปี
และหากบุตรบุญธรรมอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปี ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย นอกจากนี้
หากผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์และมีพ่อแม่ผู้ปกครองอยู่
ต้องได้รับการยินยอมจากบุคคลเหล่านั้นด้วย เป็นไปตามบทบัญญัติ มาตรา 1598/21 อย่างไรก็ตาม
ในกรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องให้คู่สมรสยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมด้วย
ตามบทบัญญัติ มาตรา 1598/25 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
16. สิทธิของผู้รับบุตรบุญธรรม
กรณีรับบุตรบุญธรรมนั้น
ทำให้ผู้ที่รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเป็นผู้ปกครองแทนบิดามารดาหรือผู้ปกครองเดิมนับแต่รับบุตรบุญธรรม
โดยทำหน้าที่อบรมสั่งสอน อุปการะเลี้ยงดู ให้การศึกษา
ตลอดจนช่วยเหลือเกื้อกูลบุตรบุญธรรมเสมือนบุตรที่แท้จริงของตน ตามหน้าที่ เช่นบิดา
มารดาทั่วไปพึงกระทำ แต่การเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ทำให้เกิดสิทธิในการรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมแต่อย่างใด
ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/29
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
17. สิทธิขอบบุตรบุญธรรม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/28
ได้กำหนดให้สิทธิผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรม ไว้ว่า
บุตรบุญธรรมจะมีฐานะเช่นเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมกล่าวคือ
มีสิทธิเช่นเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย
มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูและมีสิทธิได้รับมรดกตกทอดเสมือนทายาทชั้นบุตรของผู้รับบุตรบุญธรรมทุกประการแต่ก็ไม่เสียสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมาแต่เดิม
เช่น มีสิทธิในการรับมรดกตกทอดจากบิดามารดาทายาทเดิม
เพียงแต่อำนาจในการปกครองตกอยู่ในอำนาจของผู้รับบุตรบุญธรรม
บิดามารดาหมดอำนาจปกครองนับแต่เด็กตกเป็นบุตรบุญธรรมของผู้รับบุตรบุญธรรม
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
18. การเป็นบุตรบุญธรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การที่จะเป็นบุตรบุญธรรมโดยถูกต้องและสมบูรณ์ตามกฎหมายนั้น
จะต้องนำไปจดทะเบียนและต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ด้วย
เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/21
สำหรับกรณีของผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุตรคนอื่นอยู่
จะไปขอเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกไม่ได้ ยกเว้นจะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมของตนซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1598/26
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
19. ชื่อสกุลนั้นสำคัญไฉน
ชื่อสกุลหลักการหย่า
กฎหมายไทยในปัจจุบัน
เปิดโอกาสให้คู่สามีภรรยาสามารถเลือกใช้นามสกุลได้อย่างเสรี จะเลือกใช้ของสามี
ของภรรยา หรือต่างคนต่างใช้นามสกุลของใครของมันก่อนจดทะเบียนสมรสก็ได้ อย่างไรก็ดี
หากการสมรสดังกล่าวมิได้ราบรื่นอีกต่อไป ต้องจบลงด้วยการเลิกราไม่ว่าจะเป็นเพราะจดทะเบียนหย่าโดยความสมัครใจของทั้งคู่
หย่าตามคำพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส เช่น การสมรสโมฆะ เพราะการสมรสซ้อน เหล่านี้
หากคู่สมรสดังกล่าวเคยตกลงที่จะใช้นามสกุลของฝ่ายใดร่วมกันแล้ว
เมื่อหย่าร้างหรือศาลเพิกถอนการสมรส ข้อตกลงใช้นามสกุลร่วมกันก็เป็นอันสิ้นสุด
และแต่ละฝ่ายก็ต้องเปลี่ยนกลับไปใช้นามสกุลเดิมของตนก่อนจดทะเบียนสมรส
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
20. ชื่อสกุลหลังคู่สมรสเสียชีวิต
กฎหมายไทยในปัจจุบันเปิดโอกาสให้คู่สามีภรรยาสามารถเลือกใช้นามสกุลได้อย่างเสรี
จะเลือกใช้ของสามี ของภรรยาหรือต่างคนต่างใช้นามสกุลของตนต่อไปก็ได้
อย่างไรก็ดีหากคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายเป็นเหตุให้การสมรสดังกล่าวสิ้นสุดลงตัวอย่างเช่น
นายสมชาย หอมจับจิตสมรสกับนางสาวสมหญิง
หอมสุดใจทั้งคู่ตกลงร่วมกันใช้นามสกุลของสามีสมหญิงจึงเปลี่ยนนามสกุลเป็น
หอมจับจิต ตามนามสกุลของสมชาย ต่อมาสมชายถึงแก่ความตาย เช่นนี้ สมหญิงมีสองทางเลือกคือ
จะใช้นามสกุลหอมจับจิตของอดีตสามีต่อไปก็ได้
และใช้ได้ตลอดไปตราบเท่าที่สมหญิงไม่ได้สมรสใหม่
หรือสมหญิงอาจจะเลือกเปลี่ยนกลับไปใช้นามสกุลเดิมของตนก่อนการสมรสก็ได้
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
รู้กฎหมายไม่เสียเปรียบ (3)
21. ชื่อสกุลของหญิงทีสามี
แต่ก่อนแต่ไรมา พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ.
2505 กำหนดบังคับไว้ว่า หญิงมีสามีต้องใช้นามสกุลของสามีเท่านั้น
จะใช้นามสกุลเดิมของตนก่อนสมรสไม่ได้
หรือแม้จะใช้นามสกุลอื่นให้ผิดแผกแตกต่างไปจากนามสกุลที่สามีใช้อยู่ก็ไม่ได้
ทางออก ณ ขณะนั้นก็คือ
หญิงมีสามีทั้งหลายเลี่ยงไปใช้นามสกุลเดิมของตนในฐานะที่เป็นชื่อรอง อย่างไรก็ดี
เมื่อปี 2546 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วว่า
บทบังคับให้หญิงมีสามีต้องใช้นามสกุลของสามีดังกล่าว
เข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อสตรี
เพราะจัดให้มีสถานะทางกฎหมายที่ด้อยกว่าสามี เป็นการเลือกปฏิบัติระหว่างหญิงกับชาย
ขัดต่อหลักความเสมอภาค จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ และนับแต่นั้นมา
ผู้หญิงก็มีทางเลือกมากขึ้น
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 มาตราที่กำหนดบังคับให้หญิงมีสามีต้องใช้ชื่อสกุลของสามีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เพราะละเมิดหลักความเสมอภาคระหว่างชายและหญิงคำวินิจฉัยดังกล่าวก็นำมาสู่การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายชื่อบุคคลกันอีกครั้งเมื่อปี 2548 เปลี่ยนแปลงให้สิทธิแก่ทั้งหญิงและชายได้มีทางเลือกมากยิ่งขึ้นดังนี้ไม่ว่าชายหรือหญิงเมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว จะใช้นามสกุลใด อย่างไร ให้เป็นไปตามที่ทั้งคู่เลือกและตกลง ซึ่งก็มีอยู่ 3 ทางเลือก ทางแรก ต่างฝ่ายต่างใช้นามสกุลเดิมของตนก่อนสมรส ไม่เปลี่ยนแปลง ทางที่สอง เปลี่ยนไปใช้นามสกุลของสามีหรือไม่ก็ทางเลือกที่สามคือคู่สมรสทั้งสองฝ่ายเลือกใช้นามสกุลของภรรยา
กฎหมายชื่อบุคคลของไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนับว่าเป็นหนึ่งในกฎหมายที่ก้าวหน้า
เพราะว่าให้สิทธิเสรีภาพแก่สตรีเท่าเทียมบุรุษ ในการเลือกใช้นามสกุลภายหลังการสมรส
แตกต่างจากเดิมที่บังคับให้หญิงมีสามีต้องใช้นามสกุลของสามีเท่านั้น
แต่กฎหมายปัจจุบัน ให้คู่สมรสทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ว่า
จะใช้นามสกุลของฝ่ายใด หรือแม้แต่ ต่างฝ่ายต่างใช้นามสกุลเดิมของตนเองก็ได้
การตกลงของคู่สมรสเพื่อเลือกใช้นามสกุลเช่นนี้
จะตกลงตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อครั้งจดทะเบียนสมรส หรือตกลงกันในภายหลัง
และก็อาจเปลี่ยนใจเปลี่ยนข้อตกลงเดิมเมื่อใดก็ได้ เช่น ตอนจดทะเบียนสมรส
ทั้งคู่เลือกใช้นามสกุลของสามี แต่ต่อมา ทั้งคู่เปลี่ยนใจเปลี่ยนไปใช้นามสกุลของภรรยา
หรืออาจจะตกลงกันใหม่ต่างฝ่ายต่างใช้นามสกุลเดิมของใครของมันก็ได้
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
22. ชื่อสกุลของเด็กในการอุปการะ
เด็กบางคนเกิดมาอาภัพ
บ้างทั้งพ่อและแม่ต่างเสียชีวิตทั้งคู่ ไม่มีญาติอุปการะเลี้ยงดู
บ้างก็ถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง รัฐจึงมีหน้าที่ตามหลักมนุษยธรรมนำเด็กเหล่านั้นไปอุปการะ
ให้การศึกษา ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า บางครั้งเด็กเหล่านี้ไม่มีแม้แต่นามสกุล
จะสืบเสาะหาญาติพี่น้อง ก็ไม่พบใคร ด้วยเหตุนี้พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505
จึงเปิดช่องให้ผู้อุปการะเลี้ยงดูเด็กเจ้าของสถานพยาบาล สถานสงเคราะห์ หรือสถานอุปการะเลี้ยงดูเด็ก
สามารถจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลของเด็กที่อยู่ในความอุปการะหรือความดูแลดังกล่าวได้
ในการนี้ อาจตั้งไว้หลายนามสกุลก็ได้และเมื่อใดก็ตาม
มีเด็กสัญชาติไทยซึ่งไม่มีนามสกุลเข้ามาอยู่ในความดูแลของสถานที่แห่งนั้น
ก็สามารถเลือกกำหนดชื่อสกุลให้แก่เด็กคนนั้นได้
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
23. ความผิดฐานแท้งลูก
การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่น นำไปสู่ปัญหาการตั้งครรภ์และผลเสียต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย สิ่งหนึ่งมาจากการรู้เท่าไม่การณ์หรือเพราะความประมาท รวมถึงการขาดการเอาใจใส่จากครอบครัวและการขาดแคลนโอกาสทางการศึกษา สาเหตุเหล่านี้เป็นปัญหาต้นๆ ที่ต้องรีบแก้ไขและให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียน นักศึกษา ให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการทำแท้ง เพราะหากหญิงใดทำให้ตนแท้งลูกหรือยอมให้คนอื่นทำให้ตนแท้งลูกถือว่าหญิงนั้นหรือผู้กระทำนั้นได้กระทำผิดฐานทำให้แท้งลูก ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สถานบริการหรือคลินิกที่เปิดให้บริการรับปรึกษาการตั้งครรภ์ ที่ได้จดขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย บางครั้งหลายๆ สถานบริการ ยังเป็นสถานที่ให้บริการรับทำแท้งลูกให้กับหญิงสาวที่ยังไม่พร้อมมีบุตรหรือพลาดพลั้งมีเพศสัมพันธ์กับคนรักแล้วไม่ได้ป้องกันทำให้เกิดการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งกลุ่มหญิงเหล่านี้มักจะหาสถานบริการหรือผู้ให้บริการเถื่อนทำแท้งลูกให้ ซึ่งถือว่าการทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงยินยอมผิดกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 302 ฐานความผิดผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำแท้งถือเป็นความผิดตามกฎหมายไทย
แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำแท้งมีมาตลอดทุกยุค ทุกสมัย
ซึ่งมีสาเหตุทางสังคมหลายประการ อาทิ ฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ ยังไม่ได้สมรส
อยู่ในวัยเรียน เป็นต้น นอกจากนี้
ยังไม่รวมไปถึงการกระทำอันมีผลให้ผู้อื่นแท้งลูกโดยไม่ยินยอม
ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 303 วรรค 1
ในฐานความผิดผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
24. ความผิดฐานทอดทิ้งลูก
บ่อยครั้งที่มีการนำเสนอข่าวเด็กถูกทอดทิ้งตามสถานที่ต่างๆโดยปราศจากผู้ปกครองดูแลอันเนื่องมาจากปัญหาครอบครัวแตกแยก การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ครอบครัวมีฐานะยากจน หรือพ่อ แม่หย่าร้างกัน ซึ่งพ่อแม่ที่ทอดทิ้งลูกตัวเอง นอกจากจะไม่มีความรู้สึกรับผิดชอบทางศีลธรรมแล้ว ยังถือเป็นความผิดทางกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 306 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และอื่นๆ
ส่งผลให้บทบาทความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวลดน้อยลง
ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามาแทรกแซงจนบางครอบครัวละเลยขาดการเหลียวแลเอาใจใส่ต่อคนใกล้ชิดหรือบุพการี
และมีหลายกรณีที่ทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังในยามเจ็บmป่วย
ชรา เป็นต้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บ หรือคนชรา
ว่าด้วยผู้ใดมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญาต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้เพราะอายุ
ความเจ็บป่วยกายพิการ หรือจิตพิการ ทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้นั้นเสีย
โดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 307
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
25. ความรุนแรงในครอบครัว
การทำร้ายร่างกายของกันและกันระหว่างสามีและภรรยา ถือเป็น “ความรุนแรงในครอบครัว” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 3 หมายความว่า การกระทำใด ๆ โดยมุ่งประสงค์เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะ ที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด โดยมิชอบ แต่ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาท ส่วน“บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภรรยา โดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใดๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน และในมาตรา4 ยังบัญญัติว่า ผู้ใดกระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัว ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดยสรุป คือ กฎหมายห้ามบุคคลใดใช้ความรุนแรงกับสมาชิกในครอบครัวซึ่งจะมีความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว จำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยความผิดข้อหานี้สามารถยอมความกันได้และมีอายุความ 3 เดือนนับแต่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวอยู่ในวิสัยและมีโอกาสที่จะแจ้งความหรือร้องทุกข์ได้ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม
ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลในครอบครัว
รวมทั้งทุกภาคส่วนในสังคมร่วมกันรณรงค์และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว โดยกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัวแม้จะอยู่ในสถานะเป็นสามี
ภรรยากันก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
พุทธศักราช 2550 มาตรา 4
บางครอบครัวที่มีการทำร้ายร่างกายกันอย่างรุนแรงตามที่นำเสนอทางสื่อหนังสือพิมพ์
โทรทัศน์ ฯลฯ
จนถึงขั้นฟ้องศาลให้ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เบื้องต้นตามความสมควร
หรือร้องขอให้มีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ต่อผู้ถูกกระทำในครอบครัว
โดยห้ามผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวเข้าไปในที่พำนักของครอบครัวหรือเข้าใกล้ตัวบุคคลใดในครอบครัว
หากผู้กระทำความรุนแรงฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงาน ถือเป็นความผิดตามมาตรา
10 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พุทธศักราช 2550
มีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
26. สามีภริยาทำร้ายร่างการกัน
การทำร้ายร่างกายของกันและกันระหว่างสามีและภรรยา ถือเป็น “ความรุนแรงในครอบครัว” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 3 หมายความว่า การกระทำใด ๆ โดยมุ่งประสงค์เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะ ที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด โดยมิชอบ แต่ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาท ส่วน“บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภรรยา โดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใดๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน และในมาตรา4 ยังบัญญัติว่า ผู้ใดกระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัว ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดยสรุป คือ กฎหมายห้ามบุคคลใดใช้ความรุนแรงกับสมาชิกในครอบครัวซึ่งจะมีความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว
จำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดยความผิดข้อหานี้สามารถยอมความกันได้และมีอายุความ 3
เดือนนับแต่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวอยู่ในวิสัยและมีโอกาสที่จะแจ้งความหรือร้องทุกข์ได้
ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
27. ความผิดต่อชีวิต
การทะเลาะวิวาท
การมีปากเสียงถึงขั้นตบตี หรือชกต่อยกันด้วยโมหะ
โทสะที่ปรากฏในกลุ่มวัยรุ่นหรือครอบครัวทำให้สร้างความเดือดร้อนถึงขั้นบาดเจ็บ
หรือส่งผลให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ถือว่าบุคคลนั้นได้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 290 ว่าด้วยผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า
แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี https://www.สู้คดี.com
……………………………………………………..
รู้กฎหมายไม่เสียเปรียบ (4) เกี่ยวกับกฎหมายจราจร
1. จอดรถล้ำเส้น
2. จอดรถขวาง
3. ขี่หรือขับรถย้อนศร
4. ปลอมป้ายทะเบียนรถ
5. ขี่รถปาดหน้า
6. จอดรถในที่ห้ามจอด
7. ใช้โทรศัพท์ในขณะขับขี่
8. บรรทุกสิ่งของน่าจะทำให้เกิดอันตราย
9. ชอบแต่หรือดัดแปลงรถ
10. ขับรถเร็วกว่าที่กฎหมายกไหนด
11. เปลี่ยนสีรถ
12. รถรับจ้างปฎิเสธไม่รับผู้โดยสาร
13. ขับรถโดยสาร ไม่จอดป้าย
1. จอดรถล้ำเส้น
การขับขี่รถตามสัญญาณไฟจราจร ถือเป็นการกระทำที่ถูกต้องและควรยึดถือปฏิบัติ แต่มีบางกรณีที่ผู้ขับขี่หยุดรถ ล้ำเส้นหยุดที่กฎหมายกำหนด ซึ่งการกระทำดังกล่าวนอกจากจะ ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนแล้ว ยังส่งผลให้ผู้ขับขี่ต้อง เสียค่าปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ในฐานความผิดหยุดรถล้ำเส้นหยุด ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พุทธศักราช 2522 มาตรา 22, 24 และ 152
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี: https://www.สู้คดี.com
******************************
2. จอดรถขวาง
สภาพการจราจรที่ติดขัดในสังคมเมืองปัจจุบัน อาจส่งผลให้ ผู้ขับขี่บนท้องถนนต้องขับขี่ด้วยความรวดเร็วแข่งขันกับเวลา และ ไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการจราจร บริเวณแยกใหญ่ที่ผู้ขับขี่ต่างเร่งเครื่องยนต์เพื่อให้ผ่านพ้นแยก ดังกล่าว แต่ด้วยการจราจรที่หนาแน่นส่งผลให้รถไม่สามารถ ผ่านไปได้และไปจอดขวางแยกเป็นเหตุให้การเดินรถอีกฝั่ง ไม่สามารถเดินรถได้ การกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พุทธศักราช 2522 มาตรา 55 (4) และ 148 มีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี: https://www.สู้คดี.com
******************************
3. ขับรถย้อนศร
อุบัติเหตุทางจราจรที่เกิดขึ้นสาเหตุหนึ่งมาจากการที่ผู้ขับขี่ รถยนต์ - รถจักรยานยนต์ ฝ่าฝืนกฎจราจรในลักษณะขับขี่ย้อนศร โดยไม่ขับตามช่องทางจราจรที่ทางกรมการขนส่งทางบกได้กำหนด ไว้ให้ ซึ่งผู้ขับขี่ที่กระทำการดังกล่าวถือเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พุทธศักราช 2522 มาตรา 41 และ 148 มีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี: https://www.สู้คดี.com
******************************
4. ปลอมป้ายทะเบียนรถ
พาหนะที่ใช้ขับขี่บนท้องถนนต้องเป็นพาหนะที่ได้แจ้ง จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และได้รับป้ายทะเบียนประจำพาหนะดังกล่าวอย่างถูกต้องจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น แต่มีผู้ขับขี่บางรายที่ทำการปลอมแปลงป้ายทะเบียนรถที่ลักขโมยมา เพื่อลักลอบส่งขาย หรือ เจตนาปลอมแปลงป้ายทะเบียนขึ้น แทนการแจ้งจดทะเบียนอย่างถูกต้องนั้น ถือว่าบุคคลนั้นได้ทำผิด ต่อพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2522 มาตรา 11 ที่ กำหนดไว้ว่ารถที่จดทะเบียนแล้วต้องมีและแสดงแผ่นป้ายและ เครื่องหมายครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ตามมาตรา 60
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี: https://www.สู้คดี.com
******************************
5. ขับขี่รถปาดหน้า
เรื่องการขับรถถือเป็นเรื่องมารยาททางสังคม บางท่านอาจเคยมี ประสบการณ์ถูกผู้ขับขี่รถยนต์คันอื่นขับรถปาดหน้า แซงในระยะกระชั้นชิด หรือแซงในพื้นที่เส้นทึบ ดังนั้น การใช้รถใช้ถนนจึงควร พึงระมัดระวังไม่ให้กระทำผิดพระราชบัญญัติจราจรทางบก พุทธศักราช 2522 มาตรา 46 ที่ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อ ขึ้นหน้ารถอื่นในกรณีต่อไปนี้ (1) เมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้ (2) ภายในระยะสามสิบเมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วม ทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้ หรือทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ (3) เมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่นหรือควัน จนทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ ในระยะหกสิบเมตร (4) เมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่สี่ร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท ตามมาตรา 157
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี: https://www.สู้คดี.com
******************************
6. จอดรถในที่ห้ามจอด
ปัจจุบันปริมาณรถยนต์มีอัตราเพิ่มขึ้นสวนทางกับ เส้นทางการเดิ นรถ และปริ มาณที่ จอดรถที่ มี อยู่เท่าเดิม ส่งผลให้ ผู้ขับขี่รถยนต์บางรายจำเป็นต้องจอดรถในพื้นที่ห้ามจอด เช่น บนทางเท้า บริเวณทางข้าม บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามจอดรถ ฯลฯ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท ตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พุทธศักราช 2522 มาตรา 57 ประกอบมาตรา 148
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี: https://www.สู้คดี.com
******************************
7. ใช้โทรศัพท์ในขณะขับขี่
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนในปัจจุบัน สาเหตุสำคัญ ประการหนึ่งเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่ โดยเฉพาะ ผู้ขับขี่ที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถซึ่งส่งผลให้สมาธิในการ ขับขี่ลดลง จนก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้ พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พุทธศักราช 2522 มาตรา 43 จึงกำหนดให้ผู้ที่ ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ยานพาหนะ มีโทษปรับตั้งแต่สี่ร้อยบาท ถึงหนึ่งพันบาท
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี: https://www.สู้คดี.com
******************************
8. บรรทุกสิ่งของก่อให้เกิดอันตราย
ผู้ขับขี่รถบรรทุกสำหรับบรรทุกคน สัตว์ หรือสิ่งของทุกชนิด จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการป้องกันมิให้ คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ บรรทุกตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อเหตุเดือดร้อน รำคาญ ทำให้ทางสกปรกเปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน หรือก่อให้ เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน หากผู้ขับขี่คนใดละเลย ข้อกำหนดดังกล่าวมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท ตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พุทธศักราช 2522 มาตรา 20 ประกอบมาตรา 148
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี: https://www.สู้คดี.com
******************************
9. ชอบแต่งรถดัดแปลงรถ
รถยนต์แต่งซิ่งโดยส่วนใหญ่นิยมปรับแต่งท่อไอเสียรถยนต์ ให้มีเสียงดังเกินมาตรฐาน และอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ทั้งนี้ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พุทธศักราช 2522 มาตรา 9 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่เกิดเสียงอื้ออึง หรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถมาใช้ในทางเดินรถ หากฝ่าฝืน มีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท ตามมาตรา 148
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี: https://www.สู้คดี.com
******************************
10. ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
เทคโนโลยีที่ทันสมัยส่งผลให้การบริการหรือการตรวจจับ การกระทำผิดกฎหมายสามารถทำได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ที่เห็นได้ชัดคือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจจับความเร็ว และบันทึกภาพผู้ขับขี่ที่กระทำผิดวินัยจราจร ดังนั้น หากพบหลักฐาน ว่าผู้ขับขี่รายใดขับรถด้วยความเร็วเกินกว่าอัตราที่กำหนดใน กฎกระทรวงหรือเกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในเครื่องหมายจราจร มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พุทธศักราช 2522 มาตรา 67
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี: https://www.สู้คดี.com
******************************
11. เปลี่ยนสีรถ
โรงงานผลิตรถยนต์โดยส่วนใหญ่ จะผลิตรถยนต์ตามสีมาตรฐาน หรือสียอดนิยมตามความต้องการของท้องตลาด เช่น สีขาว สีดำสีบรอนซ์เงิน เป็นต้น แต่ในกรณีที่ผู้ครอบครองรถไม่พึงพอใจในสีรถเดิมตามมาตรฐานโรงงาน สามารถนำรถยนต์ของตนไปเปลี่ยนสีใหม่ตามความต้องการได้ แต่ต้องไม่ลืมดำเนินการแจ้งการเปลี่ยนแปลงสีรถยนต์ต่อนายทะเบียนภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง หากเกินกำหนด หรือไม่ดำเนินการให้เรียบร้อย มีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2522 มาตรา 13 ประกอบ มาตรา 60
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี: https://www.สู้คดี.com
******************************
12. รถรับจ้างปฎิเสธรับผู้โดยสาร
หลายๆ ท่าน อาจเคยได้รับทราบข่าวการปฏิเสธรับผู้โดยสาร หรือปล่อยผู้โดยสารกลางทางของรถยนต์รับจ้างสาธารณะจากหน้าหนังสือพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ ฯลฯ หรืออาจเคยได้รับประสบการณ์โดยตรงถูกรถยนต์รับจ้างสาธารณะปฏิเสธรับ - ส่งผู้โดยสาร ซึ่งการกระทำดังกล่าวของผู้ขับรถยนต์รับจ้างสาธารณะถือเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2522 มาตรา 57 ประกอบ มาตรา 60 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่การบรรทุกนั้นน่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ขับขี่ หรือแก่ผู้โดยสาร จึงสามารถปฏิเสธไม่ให้บริการรับ - ส่งผู้โดยสารได้
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี: https://www.สู้คดี.com
******************************
13. ขับรถประจำทาง ไม่จอดป้ายโดยสาร
ประชาชนส่วนใหญ่นิยมใช้บริการโดยสารรถประจำทางสาธารณะ เนื่องจากมีความสะดวก และประหยัดค่าเดินทาง อย่างไรก็ตาม ยังพบปัญหากรณีที่รถโดยสารประจำทางไม่จอดป้ายรับ - ส่งผู้โดยสารบริเวณป้ายหยุดรถประจำทางที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุมาจากพนักงานขับรถมักขับรถเลนขวาสุด หรือใช้ความเร็วสูง ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พุทธศักราช 2522 มาตรา 105 ประกอบมาตรา 127 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดี: https://www.สู้คดี.com
******************************
รู้กฎหมาย ไม่เสียเปรียบ (5) เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน
- จ้างแรงงานกับจ้างทำของ แตกต่างกันอย่างไร
- ความสำพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
- คนทำงานต้องเสียภาษี
- ตกงาน อย่าตกใจ
- แรงงานเถื่อน นายจ้างควรระวัง
- เลิกจ้างโดยลูกจ้าง
- นายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน ลูกจ้างควรทำอย่างไร
- สิทธิของลูกจ้างหลังเลิกจ้าง
- ประกันสังคมที่นายจ้างต้องปฎิบัติ
- เงินทดแทน
- นายจ้างเรียกหลักค้ำประกันการทำงานของลูกจ้างได้หรือไม่
- ลูกจ้างอยากทำงานล่วงเวลาเกิน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ได้หรือไม่
- อยากทำธุรกิจจัดหางานต้องทำอย่างไร
- จัดหางานเถื่อนมีโทษหนัก
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากเพจรู้หมดกฎหมาย
- จ้างแรงงานกับจ้างทำของ แตกต่างกันอย่างไร
การจ้างแรงงาน คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง โดยที่ลูกจ้างต้องอยู่ในการกำกับดูแลภายใต้การบังคับบัญชาของนายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างเป็นค่าตอบแทนตลอดเวลาที่ทำงานให้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 นอกจากนี้ การจ้างแรงงานต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พุทธศักราช 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่พึงได้ตามกฎหมายอีกด้วย
สำหรับการจ้างทำของ คือ สัญญาของบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงจะทำงานสิ่งหนึ่งสิ่งใด จนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จของงานนั้นดังนั้นการจ้างทำของ เป็นกรณีที่ต้องการผลความสำเร็จของงาน โดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายค่าตอบแทนให้เมื่อผู้รับจ้างทำงานที่ว่าจ้างสำเร็จ ทั้งนี้ ผู้รับจ้างทำงานไม่ต้องอยู่ในการบังคับบัญชาของผู้ว่าจ้างแต่อย่างใด เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์ https://www.สู้คดี.com
*******************************************
2. ความสำพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
นายจ้าง เป็นผู้ที่รับลูกจ้างเข้าทำงานและจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างโดยตรงนอกจากนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พุทธศักราช 2541 ยังกำหนดให้บุคคลที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้าง ซึ่งอาจจะเป็นกรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ รวมทั้งบุคคลที่นายจ้างมอบหมายให้ดำเนินการต่างๆ โดยมีอำนาจบังคับบัญชาแทนนายจ้าง ย่อมถือว่าเป็นนายจ้างด้วยเช่นกัน แต่หากคำสั่งที่ได้มอบหมายจากนายจ้างขัดต่อกฎหมาย ย่อมถือว่าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งของนายจ้างโดยตรง
สำหรับลูกจ้าง หมายถึง บุคคลผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้าง โดยรับค่าจ้างเป็นการตอบแทน ทั้งนี้ลูกจ้างต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น ห้ามเป็นการจ้างนิติบุคคล หรือองค์กร ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างชั่วคราวลูกจ้างประจำ และไม่ว่าจะมีกำหนดระยะเวลาการจ้างหรือไม่ก็ตาม ผู้เป็นลูกจ้างจะได้รับคุ้มครองจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานเช่นกัน
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์ https://www.สู้คดี.com
*******************************************
3. คนทำงานต้องเสียภาษี
หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของประชาชนไทยที่มีรายได้ ก็คือจะต้องเสียภาษี ให้กับรัฐบาล เพื่อที่รัฐบาลจะนำเอาเงินนั้นไปบำรุงและพัฒนาประเทศ บางคนคิดว่าเรื่องภาษี หรือตัวเลขเป็นเรื่องยุ่งยากวุ่นวาย ไม่อยากเกี่ยวข้อง หรือคิดไม่เป็นไม่รู้ว่าจะต้องจ่ายยังไงหรือเท่าไร ที่จริงการเสียภาษีนั้นก็เหมือนกับข้อกฎหมายอื่นๆ ที่ ประชาชนก็ ควรต้องมี ความรู้และปฏิบัติตามอย่างถูกต้องด้วย ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 40 (1) นั้นได้กำหนดและจำแนก รายละเอียดของเงินได้หรือรายได้ที่จะต้องเสียภาษีไว้อย่างละเอียด อาทิ เงินได้ จากการจ้างแรงงาน ทั้งพนักงานในธุรกิจเอกชน และภาครัฐบาล เงินได้เกิดจากการ จ้างแรงงานที่มีคู่สัญญาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยมีกำหนดระยะเวลาจ้าง โดยลูกจ้างตกลงทำงานให้แก่นายจ้าง หรือหุ้นที่บริษัทแจกให้กับพนักงานก็ต้อง นำมาคิดเป็นเงินได้ที่ต้องประเมินภาษีด้วย
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์ https://www.สู้คดี.com
*******************************************
4. ตกงาน อย่าตกใจ
มนุษย์เงินเดือนก็มีความหวังอยู่ที่เมื่องานทำแล้วก็ได้จะได้เงินเดือนมาเลี้ยงปาก เลี้ยงท้องตัวเองรวมทั้งคนในครอบครัว บางคนก็เอามาจ่ายหนี้ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในชีวิต แต่ถ้าเกิดเหตุที่ทำให้ต้องตกงานโดยไม่ทันตั้งตัว ก็อย่าเพิ่งตกใจจนเกินเหตุ เพราะระหว่างทำงานลูกจ้างทุกคนจะต้องจ่ายค่าประกันสังคมกับสำนักงาน ประกันสังคมไว้
หากต้องตกงานก็สามารถใช้สิทธิขอรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนประกันสังคมได้ ตามข้อกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ. 2547 ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งมีรายละเอียดการให้ ความช่วยเหลือแตกต่างกันไป ซึ่งก็จะทำให้เรามีเงินจำนวนหนึ่งมารองรังสำหรับ การเริ่มต้นครั้งใหม่ ไม่ว่าจะเป็นหางานใหม่ หรือคิดจะทำอะไรด้วยตัวเอง
ดังนั้นเรื่องประกันสังคมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เมื่อยังมีงานทำก็ควรจะทราบสิทธิ์ ของเราตรงนี้เอาไว้
5. แรงงานเถื่อน นายจ้างควรระวัง
แม้จะเป็นช่วงเวลาแห่งการเข้าสู่ยุคการค้าเสรีระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน แต่แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาในเมืองยังต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ดังนั้นหากใครสนับสนุนให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาโดยผิดกฎหมาย ตามมาตรา 64 ซึ่งกำหนดบทลงโทษไว้ว่า ผู้ที่ รู้ว่าคนต่างด้าวคนใดเข้ามาในราชอาณาจั กรโดยฝ่าฝืน กฎหมายแล้วให้ที่พักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยเหลือด้วยประการใดๆ แก่บุคคล ต่างด้าวนั้น เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท ใครจะรับแรงงานต่างชาติเข้ามาควรศึกษากฎหมายให้ดีด้วย
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์ https://www.สู้คดี.com
*******************************************
6. เลิกจ้างโดยลูกจ้าง
การจ้างแรงงานระหว่างลูกจ้างและนายจ้างไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งการจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อลูกจ้างทำงานให้นายจ้าง ลูกจ้างก็ต้องได้รับค่าจ้างเป็นการตอบแทน โดยทั้งสองฝ่ายต่างมีความพึงพอใจต่อกัน หากฝ่ายใดประสงค์จะเลิกสัญญาก็แสดงเจตนาให้อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้
ส่วนการเลิกจ้าง ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นจำนวนเท่าใด ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาในอีกกรณีหนึ่ง ถึงแม้จะมีข้อบังคับของนายจ้างว่า ลูกจ้างต้องบอกล่วงหน้าก่อนลาออกอย่างน้อย 30 วัน ก็ไม่สามารถบังคับลูกจ้างให้ปฏิบัติได้ แต่หากลูกจ้างจงใจหรือเจตนาละทิ้งงานทำให้นายจ้างเสียหาย ก็เป็นเรื่องที่นายจ้างจะต้องดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมายอีกกรณีหนึ่ง ดังนั้นการที่ลูกจ้างไม่ประสงค์ทำงานให้นายจ้าง จึงเป็นเรื่องของความสมัครใจซึ่งไม่สามารถบังคับกันได้ เมื่อลูกจ้างแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างเพียงฝ่ายเดียวสัญญาจ้างแรงงานก็สิ้นสุด
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์ https://www.สู้คดี.com
*******************************************
7. นายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน ลูกจ้างควรทำอย่างไร
มนุษย์เงินเดือนหรือคนทำงานโดยทั่วไปก็ต้องมุ่งหวังว่าเมื่อทำงานให้เขาแล้ว ถึงเวลาที่ได้ตกลงกันเอาไว้ก็ต้องได้รับค่าจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานนั้นๆ เพื่อนำไปเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง แต่ก็มักมีกรณีเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ที่ลูกจ้างไม่ได้รับ เงินเดือนหรือค่าตอบแทนการทำงานตามสิทธิ์ที่ควรจะได้รับจากนายจ้าง หรืออาจเป็นการทำงานวันหยุดไม่ได้ค่าล่วงเวลา หรืออาจถึงขั้นให้ออกจากงาน โดยไม่จ่ายเงินชดเชย
สิทธิโดยชอบธรรมของลูกจ้างนั้นมีระบุไว้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานอยู่แล้ว ดังนั้น ผู้ที่ประสบปัญหาเหล่านี้สามารถไปยื่นคำร้องพนักงานตรวจแรงงาน ในพื้นที่สถานที่ทำงาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 หรือใช้สิทธิ์ฟ้องศาลแรงงานเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นธรรม โดยที่ศาลนี้จะดำเนินการพิจารณาคดีเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์ https://www.สู้คดี.com
*******************************************
8. สิทธิของลูกจ้างหลังเลิกจ้าง
โดยปกติแล้ว สัญญาจ้างแรงงานจะมีบทบัญญัติอยู่ทั้งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพุทธศักราช 2541 แต่ถ้าข้อกฎหมายใดบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพุทธศักราช 2541 แล้ว จะไม่นำข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้กับสัญญาจ้างแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างอีก เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายพิเศษ
นอกจากนี้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้มีข้อปฏิบัติอีก 2 ประการ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พุทธศักราช 2541 ซึ่งข้อปฏิบัติดังกล่าวกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับใบสำคัญ หรือใบรับรองการทำงานจากนายจ้างเมื่อการจ้างแรงงานสิ้นสุดลง และในกรณีที่นายจ้างนำลูกจ้างมาจากต่างถิ่น นายจ้างต้องใช้ค่าเดินทางกลับให้แก่ลูกจ้างด้วยเมื่อการจ้างแรงงานสิ้นสุดลง
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์ https://www.สู้คดี.com
*******************************************
9. ประกันสังคมที่นายจ้างต้องปฎิบัติ
เมื่อเข้าไปทำงานในองค์กรเอกชน สิ่งที่พนักงานและลูกจ้างควรจะทราบไว้ เพื่อรักษาสิทธิของตนเองคือการยื่นแบบประกันสังคมของนายจ้าง เพราะทุกสถานที่ประกอบการเมื่อรับลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ นายจ้างจะต้องดำเนินการยื่นแบบรายชื่อลูกจ้างที่รับเข้ามาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตน หรือทำงานในหน่วยงาน หากนายจ้างไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่านายจ้างผู้นั้นได้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติประกันสังคม พุทธศักราช 2533 มาตรา 34 ประกอบมาตรา 96 วรรค 1 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหก เดือนปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปัจจุบันผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์มากมายจากการนำเงินส่งประกันสังคม โดยสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการหักเงินนำส่งของนายจ้าง ซึ่งนายจ้างจะออกให้อีกเท่าหนึ่งของลูกจ้างที่ได้หักเพื่อนำส่งไว้ สิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับ นอกจากจะเป็นค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยไข้ หรือได้รับอุบัติเหตุ ผู้ประกันตนยังได้รับเงินบำเหน็จหรือบำเหน็จจากการเกษียณอายุ 55 ปี เมื่อผู้ประกันตนส่งเงินสมทบครบ 15 ปีของการทำงานอีกด้วย เพราะฉะนั้นการยื่นแบบแสดงเงินเดือนของลูกจ้างที่นายจ้างพึงกระทำจะต้องตรงกับความจริงที่ได้จ่ายเงินค่าจ้างให้กับลูกจ้างรายนั้น แต่หากนายจ้างรายใดไม่ต้องการจะจ่ายเงินสมทบมาก ก็จะแจ้งข้อมูลเป็นเท็จในแบบแสดงรายการที่ยื่น เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายส่วนต่างที่ทางกฎหมายกำหนดไว้ หากเป็นเช่นนี้ถือว่า นายจ้างรายนั้นได้กระทำผิดพระราชบัญญัติประกันสังคม พุทธศักราช 2533 มาตรา 34 ประกอบมาตรา 94 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์ https://www.สู้คดี.com
*******************************************
10. เงินทดแทน
การเจ็บป่วยเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งของการดำรงชีวิต บุคคลใดที่ไม่เจ็บป่วยถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐ ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แต่มนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักรที่ร่างกายจะทนแดด ทนฝน หรือทนการใช้แรงงานอย่างหามรุ่งหามค่ำได้ ต้องมีภาวะเจ็บป่วยเป็นของธรรมชาติ ดังนั้นหากขาดการดูแลสุขภาพร่างกาย หรือเกิดอันตรายในระหว่างการทำงาน และขาดการพักผ่อนที่เพียงพอหรือสภาพร่างกายที่ไม่พร้อมทำงานแต่ยังฝืนทำจนได้รับอันตรายหรือไปเจ็บป่วยในสถานที่ทำงาน ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ ตามกฎหมายให้นายจ้างรักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงหรือตามความจำเป็น ตามกฎหมายที่กำหนด แต่หากนายจ้างรายใดไม่จัดให้ลูกจ้างซึ่งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายแล้ว ถือว่านายจ้างผู้นั้นได้กระทำผิดพระราชบัญญัติเงินทดแทน พุทธศักราช 2537 มาตรา 13 ประกอบมาตรา 62 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ขึ้นชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนแล้ว หลายๆ คนก็อยากจะทำงานกับบริษัทที่มีสวัสดิการที่ดี แต่บริษัทที่ให้สวัสดิการอย่างครบครันยังไม่ครอบคลุมทุกธุรกิจ แต่อย่างหนึ่งที่ทุกบริษัทจะต้องจัดทำคือการนำส่งแบบลงทะเบียนและแบบรายการแสดงรายชื่อลูกจ้างและจ่ายเงินสมทบต่อสำนักงานแห่งท้องที่ที่นายจ้างยื่นแบบลงทะเบียนจ่ายเงินสมทบไว้ หากนายจ้างหรือธุรกิจใดไม่ยื่นแบบดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสบทบถือว่า นายจ้างรายนั้นได้กระทำผิดพระราชบัญญัติเงินทดแทน พุทธศักราช 2537 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 62 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์ https://www.สู้คดี.com
*******************************************
11. นายจ้างเรียกหลักค้ำประกันการทำงานของลูกจ้างได้หรือไม่
นายจ้างมีสิทธิเรียกหลักค้ำประกันจากลูกจ้างหรือผู้เข้าทำงานได้ หากหน้าที่หรือความรับผิดชอบของลูกจ้างมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องเงินทอง หรือทรัพย์สินของนายจ้างที่เล็งเห็นแล้วว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ แต่ถ้าหากหน้าที่ความรับผิดชอบของลูกจ้างไม่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งนายจ้างได้เรียกหรือรับหลักค้ำประกันการทำงาน หรือหลักประกันการเสียหายในการทำงาน หรือแม้แต่การค้ำประกันด้วยบุคคลจากลูกจ้างโดยมิชอบ ถือว่านายจ้างได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พุทธศักราช 2541 มาตรา 10 ประกอบมาตรา 144 มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์ https://www.สู้คดี.com
*******************************************
12. ลูกจ้างอยากทำงานล่วงเวลาเกิน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ได้หรือไม่
การทำงานล่วงเวลา มีความหมายว่าการทำงานนอกเหนือ หรือเกินเวลาทำงานปกติ หรือเกินชั่วโมงทำงานในแต่ละวันที่นายจ้างตกลงกันในวันทำงาน หรือวันหยุดแล้วแต่กรณี ซึ่งการที่นายจ้างไม่อาจอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้ตามความต้องการ เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พุทธศักราช 2541 มาตรา 24, 25, 26 และ 144 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาเกินสัปดาห์ละ 36 ชั่วโมง หากนายจ้างรายใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์ https://www.สู้คดี.com
*******************************************
13. อยากทำธุรกิจจัดหางานต้องทำอย่างไร
อาชีพนายหน้าจัดหางาน มีหน้าที่ในการสรรหาบุคคลากรที่มีฝีมือและตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจรับจัดหางานจะต้องได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากผู้ใดฝ่าฝืนถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พุทธศักราช 2528 มาตรา 8 ประกอบมาตรา 73 มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์ https://www.สู้คดี.com
*******************************************
14. จัดหางานเถื่อนมีโทษหนัก
ที่ผ่านมามีการนำเสนอข่าวกรณีนายหน้าหรือบริษัทจัดหางานเถื่อนหลอกลวงให้ไปทำงานต่างประเทศ และมีประชาชนหลงเชื่อเป็นจำนวนมาก ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พุทธศักราช 2528 มาตรา 91 ตรี ในฐานความผิดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางาน หรือสามารถส่งไปฝึกงานในต่างประเทศ และได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่หกหมื่นถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์ https://www.สู้คดี.com
*******************************************
รู้กฎหมาย ไม่เสียเปรียบ (6) เกี่ยวกับการเล่นแชร์
-
ช แ ร์ แชร์คืออะไร
- 4 วิธีรับมือแชร์ล่ม
-
เป็นท้าวแชร์ต้องอ่าน
1. ช แ ร์ แชร์คืออะไร
พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ 2534 ระบุความหมายของแชร์ไว้ว่า หมายถึง การที่คนตั้งแต่ 3 คน ขึ้นไปตกลงว่าจะส่งเงินเป็นงวดๆ ให้เจ้ามือแชร์ (ท้าวแชร์) เพื่อเป็นเงินกองกลาง แล้วบุคคลใด (ลูกวงแชร์) ประสงค์จะเอาเงินไปใช้ก็ต้องประมูลดอกกันหรือใช้วิธีการอื่นแทนการประมูลก็ได้ ซึ่งกฎหมายดังกล่าว ห้ามท้าวแชร์ทำอะไรบ้างนั้น สามารถติดตามได้ในตอนต่อไป
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com
***********************************2. 4 วิธีรับมือแชร์ล่ม
เมื่อท่านได้เข้ากลุ่มการเล่นแชร์แล้ว อาจมีข้อกังวลว่าแชร์อาจจะล่ม ซึ่งมีข้อแนะนำสำหรับการรับมือแชร์ล่ม ดังนี้
1) ท้าวแชร์ไม่โกง ไม่หนี แต่มีเหตุอื่นๆ ทำให้แชร์ล่มทำให้การบริหารเงินไม่เป็นไปตามเป้าหมายการเล่นแชร์ กรณีนี้แก้ด้วยการฟ้องร้องบังคับทางแพ่งโดยไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีทางแพ่งได้โดยสืบพยานบุคคล
2) ท้าวมีเจตนาโกงตั้งแต่แรก บอกว่าจะตั้งวงแชร์พอได้เงินแล้วนำเงินหลบหนีไป กรณีนี้สามารถแจ้งตำรวจเป็นคดีอาญาฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3) ถ้าท้าวแชร์ไม่ได้ตั้งใจหลอกตั้งแต่แรก แต่ต่อมาภายหลังท้าวแชร์นำเงินกองกลางไปใช้แล้วหลบหนีไป กรณีนี้สามารถแจ้งความฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4) ถ้าลูกแชร์คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนหลบหนี ท้าวแชร์ต้องรับผิดชอบโดยสำรองจ่ายไปก่อน แล้วท้าวแชร์ใช้สิทธิไปแจ้งความฐานยักยอกทรัพย์กับลูกแชร์นั้นๆ ได้ แต่กรณีนี้ลูกแชร์หนีท้าวแชร์จะปัดความรับผิดชอบไม่ได้
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com
***********************************3. เป็นท้าวแชร์ต้องอ่าน
รู้หรือไม่ว่า พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ 2534 (มาตรา 6) ห้ามท้าวแชร์กระทำการดังนี้
1) ห้ามท้าวแชร์จัดเล่นแชร์เกิน 3 วง
2) ห้ามมีเงินกองกลางต่อครั้งรวมกันทุกวงเกิน 300,000 บาท
3) ห้ามมีสมาชิกวงแชร์ทุกวงรวมกันเกิน 30 คน
และ หากท้าวแชร์ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามมาตรา 6 จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
ปรึกษาทนายความ 099 464 4445 ค้นหาข้อมูลสู้คดีได้ที่ https://www.สู้คดี.com
***********************************